เนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ทางกรมการขนส่งทางบก ได้ทำการปรับเกณฑ์การทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่ โดยการเพิ่มข้อสอบจากเดิม 30 ข้อเป็น 50 ข้อ และต้องสอบผ่านเกณฑ์ 90% (ทำได้ 45 ข้อขึ้นไป) จากเดิม 75% เพื่อให้ผู้ขับขี่มีความรู้และความเข้าใจในการขับรถบนท้องถนนอย่างถูกต้องและปลอดภัย วันนี้ Zcooby เลยอยากจะขอรวบรวมความรู้ทั้งหมดที่ใช้ในการสอบใบขับขี่ โดยแบ่งตามหมวดเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายครับ โดยบทความนี้จะเป็น ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 9 (การบำรุงรักษารถ)
ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 9 (การบำรุงรักษารถ)
- แบตเตอรี่ควรมีฉนวนหุ้มที่ขั้วบวก
- สาเหตุไฟไม่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่เกิดจากไดชาร์จชำรุดหรือสายพานไดชาร์จหย่อนหรือขาด
- สาเหตุรถสตาร์ทไม่ติดเกิดจากแบตเตอรี่ไม่มีไฟ
- การตรวจเช็กแบตเตอรี่แบบง่ายๆ ว่ามีไฟปกติหรือไม่ ควรบีบแตรและฟังเสียงว่าปกติหรือเบาลง
- ผู้ขับขี่ควรใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ
- วิธีใดเป็นวิธีการแก้ไขเบื้องต้นเมื่อเกิดไฟลัดวงจร ควรดับเครื่องยนต์และถอดขั้วแบตเตอรี่ออก
- ถ้าขั้วแบตเตอรี่มีคราบขี้เกลือ วิธีการแก้ไขคือ ใช้น้ำอุ่นล้างและทาจาระบีที่ขั้วแบตเตอรี่
- ในการถอดขั้วแบตเตอรี่ ควรถอดขั้วขั้วลบก่อน
- น้ำที่ใช้เติมในแบตเตอรี่ ควรใช้น้ำกลั่น
- การเติมน้ำกลั่นควรให้อยู่ระหว่างขีดที่กำหนดของแบตเตอรี่
- ขณะขับรถไฟเตือนสีแดงไม่ควรแสดงอยู่บนแผงหน้าปัด
- คราบขี้เกลือที่ขั้วแบตเตอรี่เกิดจากสาเหตุน้ำกรดทำปฏิกิริยากับอากาศ
- แบตเตอรี่รถยนต์มีหน้าที่เก็บรักษาไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟ
- แบตเตอรี่รถยนต์จะมีขนาดแรงดันไฟฟ้า12 โวลท์
- ไดสตาร์มีหน้าที่ทำให้เครื่องยนต์ติด
- ความตึงของสายพานพัดลมและไดชาร์ทที่ถูกต้องควรมีระยะ 5-15 มิลลิเมตร
- ขณะขับรถไปได้ระยะหนึ่งปรากฏว่าไฟเตือนสีแดง แสดงเกิดจากไดชาร์ทชำรุด
- การเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ควรเติมให้ท่วมแผ่นธาตุประมาณ 1 นิ้ว
- ไดชาร์จทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าในรถยนต์
- ท่านควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงรถเครื่องยนต์เบนซินเติมที่มีค่าออกเทนตามที่ระบุไว้ในคู่มือรถ
- น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คือน้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอล
- น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีค่าออกเทนสูงสุดคือ ออกเทน 95
- ในการตรวจเช็กน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องเครื่องยนต์เราควรตรวจสภาพของท่อน้ำมันและรอยรั่วซึมเป็นหลัก
- หากท่านเติมน้ำมันผิดประเภทควรทำการเปลี่ยนถ่ายออกทันที
- หากท่านตรวจพบว่าท่อน้ำมันเริ่มมีรอยน้ำมันซึมออกมาท่านควรทำการเปลี่ยนท่อใหม่
- หากรถของท่านเกิดท่อน้ำมันรั่วท่านควรทำการดับเครื่องยนต์และไม่ควรขับรถต่อไปเนื่องจากอาจเกิดไฟไหม้ได้
- ไม่ควรเติมน้ำมันหล่อลื่นลงไปผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง
- เครื่องยนต์เบนซินกับเครื่องยนต์ดีเซลมีข้อแตกต่างกัน คือเครื่องยนต์เบนซินใช้หัวเทียนในการจุดระเบิด
- ในกรณีที่รถให้ใช้น้ำมันออกเทน 95 เท่านั้น ถ้าหากเราเติมน้ำมันค่าออกเทน 91 จะมีผลคือ เครื่องยนต์เกิดการสะดุด (น๊อก)
- ในกรณีที่เติมน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงกว่าในคู่มือ การใช้งานจะไม่มีผลต่อเครื่องยนต์
- ในขณะที่ท่านเติมน้ำมันเชื้อเพลิงท่านควรดับเครื่องยนต์
- การตรวจเช็กรอยรั่วซึมระบบเชื้อเพลิงท่านควรใช้จากการสังเกตและการดมกลิ่น
- หากท่านใช้ก๊าชธรรมชาติ CNG จะมีผลทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าการใช้น้ำมัน
- น้ำมันเบนซิน E85 หมายความว่ามีส่วนผสมของเอทานอล 85 ส่วน
- น้ำมันน้ำมัน E85มีการระเหยเร็วมากกว่า น้ำมัน E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมัน 95
- รถเครื่องยนต์ดีเซลหากมีสัญญาณเตือนในระบบกรองดักน้ำ ท่านควรถ่ายน้ำออกจากกรองดักน้ำ
- รถเครื่องยนต์ดีเซลหากมีควันดำมากผิดปกติเกิดจากสาเหตุกรองอากาศตัน
- หน้าที่ของน้ำมันเครื่องไม่สร้างความหนืดให้กลับเครื่องยนต์
- การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ ควรต้องเปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ด้วย
- การตรวจเช็กระดับน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ตรวจเช็กที่ก้านวัดน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์
- ขั้นตอนก่อนตรวจเช็กและเติมระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ที่ถูกต้องควรจอดรถบนพื้นราบ เช็กน้ำมันขณะยังไม่ติดเครื่อง หรือดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 10-15 นาที
- วิธีการสังเกตรอยรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้ โดยสังเกตที่พื้นที่รถจอด และตามรอยต่อ หรือข้อต่อเครื่องยนต์
- หากลมยางล้อหน้าด้านซ้ายอ่อนเวลาขับรถจะมีผล คือพวงมาลัยกินไปด้านซ้าย
- ถ้าเติมลมยางอ่อนเกินไป จะมีผลกับยาง คือทำให้ดอกยางทางด้านข้างทั้งสองสึกหรอ
- ถ้าเติมลมยางแข็งเกินไป จะมีผลกับดอกยางตรงกลางจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ
- การตรวจสอบลมยางต้องตรวจอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- การเติมลมยางที่ถูกต้องควรเติมลมยางในขณะที่ยางยังเย็นอยู่
- โดยปกติการสลับยางควรสลับทุกๆ 10,000 กิโลเมตรร
- การเติมลมยางให้พอดีตามที่กำหนดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ยางระเบิด
- ยางมีหน้าที่ช่วยยึดเกาะถนนไม่ให้ลื่นไถล
- การเติมลมยางสำหรับรถยนต์ ควรปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถ
- ฝาปิดจุ๊บลมยางมีประโยชน์ในการป้องกันลมรั่วซึมและสิ่งสกปรกต่างๆ
- การเปลี่ยนขนาดยางเล็กเกินไปจะเกิดผลเสีย คือทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักลดน้อยลง
- การเปลี่ยนขนาดยางใหญ่เกินไปจะเกิดผลเสีย คือทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
- จากภาพด้านล่างตัวเลขสองตัวแรก “21” บ่งบอกถึงสัปดาห์ของปีที่ผลิตยาง
- จากภาพด้านล่าง ตัวเลขสองตัวหลัง “13” บ่งบอกถึงปี ค.ศ.ที่ผลิต
- 195/60 R 14 85H ตัว R หมายถึงโครงสร้างยางแบบเรเดียล
- การตรวจความตึงของสายพานควรใช้มือกดที่กึ่งกลางสายพาน
- กรองอากาศไม่เกี่ยวข้องกับระบบสายพาน
- สายพานขาดไม่ใช่สาเหตุของสัญญาณแตรไม่ดัง
- ขณะท่านขับรถ ถ้าได้ยินเสียงดังของเสียงยางรถเสียดสีกับถนน ถือว่าเป็นเสียงปกติ แต่ถ้าได้ยินเสียงดังที่เกิดจากเสียงสายพานหย่อย เสียงที่ดังจากที่ปัดน้ำฝน หรือเสียงคอมเพรสเซอร์แอร์ดัง ต้องรีบนำรถไปตรวจเช็ค
- หากท่านไม่นำรถไปตรวจเช็กก่อนใช้งาน ผลเสียที่ตามมาคือ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถยนต์จะมากขึ้น
- ถ้าเกิดเสียงดังแหลมๆ (เอี๊ยดๆ หรือ จี๊ดๆ) ดังจากห้องเครื่อง แสดงว่า สายพานหย่อน
- หากพบว่าร่องสายพานไม่มี สายพานแตก กรอบหรือสายพานขาดครึ่งเส้นควรจะเปลี่ยนสายพาน แต่ถ้าหากพบว่าสายพานหย่อนไม่ใช่สาเหตุที่ควรจะเปลี่ยนสายพาน
- เสียงไฟเลี้ยว ไฟฉุกเฉินและไฟถอยเป็นเสียงปกติจากรถ แต่เสียงเบรกดังแสดงว่ารถยนต์ผิดปกติ
- แหวนลูกสูบหลวม การเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไปและเครื่องยนต์สึกหรอมากเป็นสาเหตุของการเกิดควันไอเสียสีขาว
- ขั้วแบตเตอรี่หลวม น้ำมันเชื้อเพลิงหมดและมอเตอร์สตาร์ทเสียเป็นสาเหตุของการสตาร์รถไม่ติด
- เครื่องยนต์ร้อนจัดมีสาเหตุมาจากน้ำในหม้อน้ำแห้ง สายพานพัดลดขาด น้ำมันเครื่องแห้ง เป็นต้น
- ในขณะขับรถมีไฟเตือนสีแดงรูปแบตเตอรี่ปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดแสดงว่า ไดชาร์ทชำรุด
- เบรกมือควรใช้เมื่อหยุดรถขณะติดดไฟแดง จอดรถบนทางลาดฃันหรือหยุดรถบนทางลาดชัน แต่ไม่ควรใช้เมื่อขับรถลงทางลาดชัน
- เบรกมือควรใช้จอดหรือหยุดรถบนทางลาดชัน
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรกอย่างรุนแรงเมื่ออยู่ทางโค้ง
- การกะระยะในการหยุดรถและเบรกอย่างนุ่มนวลเป็นวิธียืดอายุการใช้งานของผ้าเบรก
- ยางรถยนต์ เกียร์ ระบบช่วงล่าง เป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเบรกรถ
- ถ้าไม่ปลดล็อกเบรกมือเมื่อรถเคลื่อนตัวจะรู้สึกว่ารถเร่งความเร็วไม่ขึ้น
- เบรกเท้าจะทำงานทั้ง 4 ล้อใด
- สีของน้ำมันเบรกที่มีคุณภาพคือสีเหลืองใส
- สีของน้ำมันเบรกที่เสื่อมสภาพคือสีดำ
- เบรกมือใช้ควบคุมล้อคู่หลังของรถ
- เมื่อเหยียบเบรกแล้วเกิดเสียงดังเป็นเพราะ ผ้าเบรกหมดหรือหมดอายุ
- ผ้าเบรกจะทำงานเสียดสีกับจานเบรกของรถยนต์
- หน้าที่ของน้ำมันเครื่องยนต์ คือ ระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์
- หน้าที่ของน้ำมันเครื่องยนต์ ได้แก่ หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่เพื่อลดการสึกหรอ ทำความสะอาดชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์
- การเตรียมความพร้อมของรถยนต์ควรจอดรถยนต์บนพื้นราบและดับเครื่องยนต์ ก่อนการตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์
- การตรวจเช็กระดับน้ำมันเครื่องยนต์ดูได้จากก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์
- น้ำมันเครื่องยนต์ควรอยู่ในระดับ F ซึ่งเป็นระดับน้ำมันที่ดีที่สุด
- ถ้าระดับน้ำมันเครื่องยนต์สูงเกินไปจะทำให้เกิดแรงดันสูงในห้องเครื่องยนต์ และมีควันขาว
- ถ้าระดับน้ำมันเครื่องยนต์ต่ำเกินไปจะทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์สึกหรออย่างรวดเร็ว
- เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถควรตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- น้ำมันเบรกควรเปลี่ยนทุก 1 ปี
- คุณสมบัติของน้ำมันเบรก คือ ของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังจากแป้นเบรก
- การตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์ คือ การดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาตรวจสอบ
- ขณะขับรถเมื่อรู้สึกว่าพวงมาลัยจะหนักกว่าปกติแสดงว่าระดับน้ำมันเพาเวอร์ต่ำกว่ากำหนด
- ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกทุกปี
- คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องยนต์ ได้แก่ ช่วยหล่อลื่น ลดการเสียดสีและการสึกหรอ ป้องกันการเกิดสนิมในเครื่องยนต์ ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
- การตรวจสอบน้ำมันเครื่องยนต์ กระทำได้หลายวิธี เช่น สังเกตุจากสี ปริมาณและความหนืด สิ่งเจอปน ซึ่งการดมกลิ่นไม่สามารถตรวจสอบได้
- การเติมน้ำมันเครื่องควรเติมปริมาณเสมอขีดบนของก้านวัด
- หม้อน้ำรถยนต์มีหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์
- การเติมน้ำในหม้อพักน้ำควรเติมให้อยู่ระหว่าง Full กับ Low
- อุณหภูมิเครื่องยนต์ที่ทำงานปกติควรอยู่ระหว่าง 80 -95 องศาเซลเซียส
- ถ้าเครื่องยนต์ร้อนจัดควรเติมน้ำเมื่อเครื่องยนต์เย็นลง เปิดฝากระโปรงเพื่อระบายความร้อน ปิดแอร์ เปิดหน้าต่างและจอดรถ แต่ไม่ควรเอาน้ำราดลงไปที่เครื่องยนต์จะทำให้เครื่องยนต์เย็น
- ถ้าพัดลมหม้อน้ำเสียจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น
- พัดลมหม้อน้ำมีหน้าที่ช่วยระบายความร้อนของหม้อน้ำ
- ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำในกรณีเครื่องร้อนจัด
- สภาพท่อยางหม้อน้ำเมื่อบีบแล้วมีความยืดหยุ่นแสดงว่ายังใช้งานได้ดี
- ปั๊มน้ำรถยนต์มีหน้าที่ทำให้น้ำหมุนเวียนจากเครื่องไปยังหม้อน้ำแล้วไหลกลับเข้าเครื่องยนต์
- การตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำก่อนใช้งานทุกวันคือวิธีป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจัด
- การตรวจสอบลมยางล้อรถ จะต้องตรวจสอบทั้งสี่ล้อและล้ออะไหล่
- อุปกรณ์ที่จำเป็นควรมีไว้ติดรถ ได้แก่ แม่แรง ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง ยางอะไหล่ เป็นต้น
- การตรวจเช็กรถก่อนใช้งาน ได้แก่ ตรวจการชำรุดของสัญญาณไฟโดยการเปิดไฟกระพริบรอบตัวรถ ตรวจวัดแรงดันลมยางเป็นประจำ เป็นต้น
- การตรวจเช็กและบำรุงรักษาอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ เติมน้ำมันเครื่องโดยเติมให้อยู่ระดับบนเสมอ ควรใช้น้ำกลั่นเติมลงในแบตเตอรี่ทุกครั้ง ควรตรวจสอบการรัดตรึงของหัวขั้วแบตเตอรี่ให้มีสภาพพร้อมใช้งานเสมอ
- การตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องในเครื่องยนต์ ควรตรวจสอบหลังดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 10 นาที
- ในการถอดขั้วแบตเตอรี่ ควรถอดขั้วลบก่อน
- .ระดับของน้ำมันเบรก หากอยู่ในระดับที่ต่ำจะมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุ
- ไม่ควรเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำให้เต็มถัง เพราะต้องสำรองเนื้อที่ในการขยายตัวของน้ำเมื่อเกิดความร้อน
- ข้อควรปฏิบัติขณะขับรถ ได้แก่ ฟังเสียงเครื่องยนต์ทุกครั้งว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ควรอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ตรวจสอบระบบส่งกำลังทุกครั้งว่าใช้งานได้อย่างปกติหรือไม่
- การตรวจสอบลมยางที่ถูกต้องควรใช้เครื่องวัดลมยาง
- สาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติดหรือติดยาก ได้แก่ แบตเตอรี่มีไฟไม่เพียงพอ น้ำมันเชื้อเพลิงหมด ฟิวส์ขาด เป็นต้น
- การตรวจสอบลมยางที่ถูกต้องจะต้องทำเมื่อยางล้อรถมีอุณหภูมิต่ำ
- น้ำกลั่นแห้งบ่อยครั้งจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานน้อยกว่าปกติ
- หม้อน้ำซึมสังเกตุได้จากการพบคราบน้ำยาหล่อเย็นบริเวณจุดที่ซึม
- หากจะเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำ ไม่ควรเติมน้ำบาดาล
- วิธีการตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานเครื่องยนต์เบื้องต้น สามารถทำได้โดยใช้นิ้วมือกดสายพานเครื่องยนต์
- การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในรถยนต์ ควรตรวจสอบไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา และไฟหน้าสูงต่ำ-ไฟหรี่-ไฟเบรก-ไฟส่องป้ายทะเบียนรถ
- การเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำ ควรอยู่ระหว่างเกณฑ์สูง-ต่ำ ที่กำหนดไว้ข้างถังพักน้ำ
- สาเหตุที่ไม่ควรเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำให้เต็มถัง เพราะต้องสำรองเนื้อที่ในการขยายตัวของน้ำเมื่อเกิดความร้อน
*************************************************
ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ทั้งหมด 11 หมวด (คลิ้กแต่ละตอนได้เลยครับ)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 1 (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 2 (กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 3 (เครื่องหมายพื้นทาง)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 4 (ป้ายบังคับ)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 5 (ป้ายเตือน)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 6 (ป้ายแนะนำ)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 7 (มารยาทและจิตสำนึก)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 8 (เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 9 (การบำรุงรักษารถ)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 10 (รูปภาพจราจร)
- ความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนที่ 11 (การรับรู้สถานการณ์อันตราย)
Be the first to comment