วู ลีน-เทห์ (Wu Lien-teh) คือใคร? ประวัติและผลงานของนายแพทย์ Wu Lien-teh
วู ลีน-เทห์ (Wu Lien-teh) คือใคร?
นายแพทย์ วู ลีน-เทห์ (Wu Lien-teh) ถือได้ว่าเป็นผู้ให้กำเนิดหน้ากากอนามัยแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
โดยเขาเป็น นายแพทย์หนุ่มเชื้อสายจีนมาเลย์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากราชวงศ์ชิงที่ปกครองจีนอยู่ในขณะนั้น ให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา “โรคระบาดแมนจูเรีย” (Manchurian Plague) ซึ่งทั่วโลกกำลังเผชิญการระบาดในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
โดยวันที่ 10 มีนาคม 2564 Google ได้เฉลิมฉลองวันครบรอบวันเกิด 142 ปีของนายแพทย์ Wu Lien-teh
ประวัติและผลงานของ นายแพทย์ Wu Lien-Teh
ชื่อจริง : Wu Lien-teh หรือ Wu Liande
ชื่อเดิม : Ngoh Lean Tuck, Ng Leen Tuck
เกิด : 10 มีนาคม 2422
เสียชีวิต : 21 มกราคม 2503
อายุรวม : 80 ปี
อาชีพ : นายแพทย์เชื้อสายจีนมาเลย์ หัวหน้าคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา “โรคระบาดแมนจูเรีย” (Manchurian Plague)
ผลงานที่โดดเด่น : เป็นผู้คิดค้นหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด
ต้นกำเนิด หน้ากากอนามัย
เดิมนายแพทย์วู ทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยทางการแพทย์ ณ เมืองกัวลาลัมเปอร์ จนกระทั่งปี 1910 สำนักงานกิจการต่างประเทศ (the Foreign Office) ของรัฐบาลราชวงศ์ชิงก็เชิญตัวไปที่เมืองฮาร์บิน เพื่อดูการระบาดของ “โรคระบาดแมนจูเรีย” (Manchurian Plague) และท้ายสุดก็แต่งตั้งเขาให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหานี้
เมื่อได้ศึกษาผู้ป่วยและการระบาดอยู่ช่วงหนึ่ง นายแพทย์วู ก็เสนอว่าการระบาดครั้งนี้เกิดจากการติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านฝอยละอองขนาดเล็ก (airborne transmission) จากการที่ผู้ป่วยไอหรือจาม
ไม่เพียงแค่เสนอทฤษฎีใหม่ นายแพทย์วู ยังเสนอวิธีการป้องกันการระบาดแบบใหม่อีกด้วย นั่นคือ การใส่ “หน้ากากป้องกันโรคระบาด” (Anti-plaque mask) ที่เขาคิดค้นขึ้น ลักษณะของหน้ากากนั้นคล้ายกันมากกับหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นผ้าฝ้ายรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว จำนวน 2 ชิ้น ซ้อนกัน คลุมส่วนจมูก ปาก ไปจนถึงคางของผู้ใส่ แล้วใช้ผ้าพันแผลหรือผ้ากอซ (gauze) ขนาดกว้าง 6 นิ้ว ยาว 3 ฟุต พาดลงบนผ้าฝ้ายแล้วพันรอบคอผู้สวม คล้ายกับสายคล้องหูของหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน
หน้ากากป้องกันโรคระบาดนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ในหลายโอกาส ทั้งตรวจรักษาคนไข้ในโรงพยาบาล ในหมู่บ้าน และขณะเผาทำลายศพผู้ป่วย นอกจากนี้ นายแพทย์วู ยังให้ผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปที่เสี่ยงจะติดเชื้อใส่หน้ากากเช่นกัน
การผลิตและใส่หน้ากากป้องกันโรคระบาดของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยชาวจีนในช่วงเวลาที่โรคระบาดแมนจูเรีย เกิดขึ้นนั้น นับเป็นครั้งแรกของการใช้หน้ากากเพื่อป้องกันการระบาดของโรคในวงกว้าง
Be the first to comment