เวิลด์ไวด์เว็บ มีอายุครบ 30 ปีในวันที่ 12 มีนาคม 2562 ทาง Zcooby จึงอยากจะขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเช่น เวิลด์ไวด์เว็บคืออะไร รวมทั้งประวัติความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลนะครับ
เวิลด์ไวด์เว็บ คืออะไร?
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล
คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต
คำจำกัดความของเวิลด์ไวด์เว็บ คือ ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) หรือข้อมูลที่มีการจัดรูปแบบบนเว็บ สามารถเรียกดูด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งอ่านข้อมูลที่เรียกว่าเว็บเพจมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ข้อมูลที่เรียกอ่านจะมาแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านและดูเว็บได้ เมื่อผู้ใช้ต้องการดูหน้าอื่น สามารถเลือกไฮเปอร์ลิงก์เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บหน้าอื่น ๆ หรือทั้งยังส่งข้อมูลกลับไปที่เว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อประมวลผล เว็บเพจหลาย ๆ หน้าที่จัดการเก็บข้อมูลที่ใกล้เคียงกันเรียกว่าเว็บไซต์ การอ่านเว็บจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง นิยมเรียกกันว่า “เซิร์ฟฟิงเว็บ” หรือ “บราว์ซิงเว็บ”
มาตรฐานที่ใช้ในเว็บ ประกอบด้วย 3 มาตรฐานหลักดังต่อไปนี้ :
- Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า
- HyperText Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
- HyperText Markup Language (HTML) เป็นตัวกำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
ประวัติความเป็นมาของ เวิลด์ไวด์เว็บ
โดยเริ่มต้นในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1989 เมื่อ Tim Berners-Lee (ในตอนนั้นเขาอายุ 33 ปี) นักวิจัยจากสถาบัน CERN (Conseil European Pour La Recherche Nucleaire) ซึ่งเป็นห้องทดลองใน เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้นำโครงการเรื่อง Hypertext ของ Vannevar Bush และ Ted Nelson มาใช้ในจุดประสงค์ที่จะกระจายข้อมูลในองค์กร ซึ่งมีหลัก 3 ประการที่สำคัญคือ
- การทำงานในหน้าของผู้ใช้ (User) จะต้องสามารถเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หลากหลายในด้านระบบปฏิบัติการได้
- หน้าตา (Interface) จะต้องสามารถแสดงผลกับข้อมูลหลายรูปแบบได้
- ต้องสามารถให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลในเครือข่าย (Network) ได้ง่าย
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ก็นับเวลาครบรอบ 30 ปี และปัจจุบันมีจำนวนเว็บไซต์มากกว่าสองพันล้านเว็บไซต์อยู่บนโลกออนไลน์
Be the first to comment