เคอร์ฟิว คืออะไร? ที่มาและสถานการณ์ที่ต้องใช้ #เคอร์ฟิว

ช่วงนี้หลายคนอาจจะได้ยินคำว่า “เคอร์ฟิว” อยู่บ่อยครั้ง ทำให้หลายคนอาจจะอยากทราบว่า เคอร์ฟิวคืออะไร? มีที่มาอย่างไร? และมีผลบังคับใช้ในสถานการณ์แบบไหน? วันนี้ Zcooby ขอนำข้อมูลมาแนะนำให้ทราบครับ

เคอร์ฟิว คืออะไร?

เคอร์ฟิว (Curfew) เป็นคำสั่งกำหนดเวลาใช้ข้อบังคับบางอย่าง โดยปรกติเป็นการกำหนดช่วงเวลาให้บุคคลในพื้นที่ที่ระบุในประกาศนั้น ต้องอยู่แต่ภายในเคหสถาน หรือให้ปิดทำการสำนักงานบางประเภท และผู้ออกคำสั่งดังกล่าวมักเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ที่มาของคำว่า เคอร์ฟิว

คำว่า “เคอร์ฟิว” ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า “กูฟวร์เฟอ” (couvre-feu) ในภาษาฝรั่งเศสเก่า (Old French) มีความหมายตรงตัวว่า “ดับไฟ” (cover fire) 

มีที่มาจากกฎหมายของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William The Conqueror) ที่ให้ดับไฟและแสงไฟทั้งหมดเมื่อระฆังตีแปดนาฬิกา เพื่อป้องกันเพลิงไหม้ในชุมชนอาคารไม้

สถานการณ์ใดบ้างที่ต้องใช้เคอร์ฟิว?

  1. คำสั่งที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือทหารเป็นผู้ออก กำหนดให้ทุกคนหรือบางคนอยู่ภายในเคหสถาน ณ ช่วงเวลาบางช่วง ปรกติมักเป็นยามวิกาล คำสั่งเช่นนี้อาจมีขึ้นเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อย (เช่น กรณีที่เกิดในคราวไฟฟ้าดับทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2546, การจลาจลในฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2548, แผ่นดินไหวในชีลีเมื่อ พ.ศ. 2553, การปฏิวัติอียิปต์เมื่อ พ.ศ. 2554, และความไม่สงบที่เฟอร์กูสันเมื่อ พ.ศ. 2557) หรือเพื่อปราบปรามบุคคลบางกลุ่ม
  2. คำสั่งของผู้ปกครอง (ตามกฎหมาย) ที่ให้ผู้เยาว์กลับบ้านภายในเวลาที่กำหนด ปรกติมักเป็นยามวิกาล อาจเป็นคำสั่งวันต่อวัน หรืออาจมีความแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละวันในสัปดาห์
  3. คำสั่งของหัวหน้าครัวเรือนต่อผู้ช่วยเหลือในครัวเรือน เช่น ต่อโอแพร์ (Au pair) หรือคนเลี้ยงเด็ก ให้กลับบ้านภายในเวลาที่กำหนด
  4. ข้อกำหนดรายวันที่ให้แขกผู้พักอาศัยเดินทางกลับที่พักภายในเวลาที่กำหนด ปรกติมักเป็นยามวิกาล
  5. ในการแข่งขันเบสบอล ได้แก่ คำสั่งว่า ให้การแข่งขันสิ้นสุดลงภายในเวลาใด หรือให้พักการแข่งขันเมื่อถึงเวลาใด เช่น ในอเมริกันลีก (American League) มีการใช้เคอร์ฟิวบังคับเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี กำหนดห้ามอินนิง (inning) เมื่อพ้นเวลา 1 นาฬิกา (ตี 1) ไปแล้ว
  6. ในวิชาการบิน ได้แก่ คำสั่งห้ามขึ้นบินในเวลากลางคืน ซึ่งห้ามปฏิการทางอากาศยานในช่วงเวลาใด ๆ ของยามค่ำคืนตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการรบกวนผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เช่น กรณีของท่าอากาศยานต่าง ๆ ในลอนดอนที่ปฏิบัติการบินตามระบบนับโควตา (Quota Count system)
  7. คำสั่งห้ามเข้าพื้นที่ที่กำหนดภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ เช่น ในอินเวอร์ไคลด์ (Inverclyde) สกอตแลนด์ ห้ามลูกค้า (patron) เข้าสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาต (licensed premises) เป็นต้นว่า ผับ คลับ บาร์ ฯลฯ เมื่อพ้นเวลาเที่ยงคืนแล้ว คำสั่งเช่นนี้มักเรียกว่า “ลาสต์ออร์เดอร์” (last order)

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.