ในปี พ.ศ. 2564 นี้จะเป็นปีแรกที่ทางรัฐบาลประกาศให้มีวันหยุดประจำภาค โดยทางภาคเหนือจะมีวันหยุดประจำภาคเหนือคือ “วันหยุดประเพณีไหว้พระธาตุ” ในวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ทาง Zcooby จึงขอนำข้อมูลของ ประเพณีไหว้พระธาตุ
ทำไมวันหยุดประเพณีไหว้พระธาตุ จึงเป็นวันที่ 26 มีนาคม 2564 ?
โดยทางภาคเหนือ จะมีประเพณีไหว้พระธาตุ ในช่วงเวลา วันเพ็ญเดือน 4 เหนือ (เดือน 4 ไทยกลาง) หรือนับจากหลังวันมาฆบูชา 1 เดือน ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 นี้ วันมาฆบูชาตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 วันหยุดประเพณีไหว้พระธาตุในปีนี้ จึงเป็นวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564
กิจกรรมในวันไหว้พระธาตุ
ในวันเพ็ญเดือน 6 พุทธมามะกะจากทุกทิศ จะเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยตุง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กิจกรรมในวันนั้น ภาคกลางวันมีการบูชาพระรัตนตรัย รับศีล และฟังเทศน์ กลางคืนมีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ในอดีต ผู้ที่เดินทางมักเดินจากเชิงเขาที่บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สายขึ้นไปเป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร ปัจจุบันนี้ นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ตามถนนลาดยางที่แยกจากถนนพหลโยธินที่บ้านสันกอง อำเภอแม่จัน ส่วนผู้ที่นิยมเดินขึ้นเหลือน้อยลง เพราะถนนสำหรับรถยนต์ได้ทับเส้นทางเดินเท้าหลายแห่ง
กิจกรรมในวันไหว้พระธาตุ จะมีการสมาทานศีลและการฟังเทศน์เป็นหลัก ซึ่งเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้ปราศจากกิเลส และฝักใฝ่ทางกุศล การเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยตุงแสดงให้เห็นศรัทธา ความเพียร และความอดทน
ความเป็นมาของพระธาตุดอยตุง
พระธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ของชาวพุทธในเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้ง ชาวพุทธในรัฐเชียงตุง ประเทศพม่า และในประเทศลาว การไหว้พระธาตุดอยตุงเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น
พระธาตุดอยตุงอยู่บนดอยตุง ระหว่างดอยจองกับดอยปู่เจ้า ทั้ง 3 ดอยนี้ เรียงต่อกันเป็นแนวยาว เรียกรวมกันว่า “ดอยนางนอน” พระธาตุดอยตุงและเจดีย์ พระธาตุช้างมูบ (ช้างหมอบ) ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า (กระดูก ไหปลาร้าข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า) และอัฐิของพระสาวกของพระพุทธเจ้า แต่เดิมก่อนจะสร้างพระธาตุนั้น เชื่อกันว่า บริเวณที่ตั้งพระธาตุ เคยเป็นที่พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทับฉันน้ำ ต่อมาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า ได้นำตุงมาปักถวาย เป็นพุทธบูชา ซึ่งตุงนั้น มีความยาวกว่า 1 กิโลเมตร ความกว้างหลายร้อยเมตร และเสาตุง มีความสูงนับพันวา ยังผลให้ร่มเงาของตุงได้ปกคลุมไปทั่วเมืองเชียงแสน ทำให้บ้านเมืองเชียง มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข (ปัจจุบันมีหลุมหินขนาด ความกว้าง ประมาณ 1 เมตร ความลึกไม่สามารถวัดได้ หลุมนี้ อยู่ใกล้องค์พระธาตุ ทางด้านทิศเหนือ นอกจากนี้ ยังมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่บนหิน ขนาดความกว้าง ประมาณ 50 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร) ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้า ทรงสำราญ พระอิริยาบถบนดอยติยะสะ (ต่อมาเรียกว่า ดอยตุง ตามความเชื่อเรื่องตุง ที่ปักถวายพระพุทธเจ้า) แล้วเสด็จลงไปยังถ้ำปุ่ม เพื่อฉันอาหาร เสร็จแล้ว ก็นำพระอรันต์ 500 องค์ ที่ตามเสด็จมาด้วยกลับไปยังเมืองอินเดีย
พ.ศ. 2470 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย นำผู้มีจิตศรัทธา ขึ้นไปปฏิสังขรณ์พระธาตุขึ้นใหม่ พร้อมทั้งสร้างวิหารพระประธานขึ้นให้เป็นที่ สักการะของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย
ในปี พ.ศ. 2499 นางทองคำ ฮั่งตระกูล อุบาสิกาจากจังหวัดพะเยา ได้นำผู้มีจิตศรัทธา บริจาคทรัพย์ลงรักปิดทององค์พระธาตุจนเหลืองอร่าม ต่อมากรมศิลปากร ได้ปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุครั้งใหญ่ ระหว่างปี พ.ศ. 2514 – 2516 โดยอาจารย์จิต บัวบุศม์ ได้มีการประดับองค์พระธาตุด้วยโมเสด เพิ่มซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป 8 ซุ้ม มีฉัตรประดับ 4 มุม พระธาตุอย่างที่เห็น ในปัจจุบัน
Be the first to comment