บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คืออะไร? ได้สิทธิ์,ใช้ทำอะไรได้บ้าง? พร้อมวิธีใช้งานเบื้องต้น

หลังจากที่มีการเปิดให้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยในครั้งล่าสุด ตอนนี้ทางรัฐบาลได้เตรียมมอบ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้ลงทะเบียนและผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ วันนี้ Zcooby จึงอยากจะขอแนะนำว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คืออะไร? ได้สิทธิ์,ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คืออะไร?

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นบัตรที่มอบให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย (จำนวนประมาณ 11.67 ล้านคนทั่วประเทศ) ที่ได้ทำการลงทะเบียนและเกณฑ์ผ่านคุณสมบัติที่จะได้รับสิทธิ์สวัสดิการนี้

โดยผู้ที่ได้รับบัตรจะใช้สิทธิ์เช่น ได้รับวงเงินซื้อสินค้า 200-300 บาทต่อเดือน, ค่าเดินทาง, ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม (รายละเอียดตามหัวข้อด้านล่าง

โดยบัตรนี้มีเงื่อนไขพิเศษอย่างหนึ่งก็คือ ทุกวันที่ 1 ของเดือน ระบบจะทำการรีเซ็ตวงเงินในบัตรใหม่ วงเงินที่ใช้ไม่หมด จะถูกตัดส่งคืนกลับเข้ารัฐทันที

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มแจกและใช้งานได้เมื่อไหร่?

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะเริ่มแจกในวันที่ 21 กันยายน 2560 และเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป

วิธีการใช้งานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

กรณีต้องการใช้วงเงินเพื่อซื้อสินค้า ผู้ถือบัตรสามารถถือบัตรไปเลือกซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์ ธงฟ้าประชารัฐ และมีเครื่องรับเงิน ECB

กรณีต้องการใช้เพื่อชำระค่าเดินทาง สามารถติดต่อเค้าน์เตอร์จำหน่ายบัตร หรือแตะบัตรที่เครื่องอ่านในรถที่มีการติดตั้งเครื่องอ่านบัตร

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้สิทธิ์ หรือได้รับสวัสดิการในด้านใดบ้าง?

ในส่วนของสิทธิ์สวัสดิการนั้น จะแบ่งกลุ่มคนที่จะได้รับสิทธิ์ดังนี้

กลุ่มที่ 1 – กลุ่มผู้ได้รับสิทธิ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี

สิทธิ์ที่ 1 – ได้รับวงเงินซื้อสินค้า 300 บาท ต่อเดือน (จากร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด) เช่น

  • สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
  • สินค้าเพื่อการศึกษา
  • วัตถุดิบเพื่อการเกษตรกรรม

สิทธิ์ที่ 2 – ได้รับค่าเดินทาง

  • ค่ารถเมล์-รถไฟฟ้า 500 บาท ต่อเดือน
  • ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาท ต่อเดือน
  • ค่ารถไฟ 500 บาทต่อเดือน

สิทธิ์ที่ 3 – ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท/คน/ 3 เดือน

**************************

กลุ่มที่ 2 – กลุ่มผู้ได้รับสิทธิ ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท/ปี

สิทธิ์ที่ 1 – ได้รับวงเงินซื้อสินค้า 200 บาท ต่อเดือน (จากร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด) เช่น

  • สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
  • สินค้าเพื่อการศึกษา
  • วัตถุดิบเพื่อการเกษตรกรรม

สิทธิ์ที่ 2 – ได้รับค่าเดินทาง

  • ค่ารถเมล์-รถไฟฟ้า 500 บาท ต่อเดือน
  • ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาท ต่อเดือน
  • ค่ารถไฟ 500 บาทต่อเดือน

สิทธิ์ที่ 3 – ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท/คน/ 3 เดือน

เพื่อให้เข้าใจโดยง่าย ทางเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ได้ทำข้อมูลแบบภาพให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้

 

Readers Comments (24)

  1. แล้วถ้าต่างจังหวัดไม่มีร้านธงฟ้าไม่มีร้านค้าที่รับบัตรไม่มีรถเมล์ไม่ได้เดินทาง จะทำยังงัยเสียสิทธิ์ไปแต่อะเดือนงี้หรอ. เวนกรรม

    Reply
    • วฟสา่หก 18/09/2017 @ 18:07

      เป็นรูปแบบระบบที่แย่มากๆไม่ค่อยคลอบคลุมทุกหย่อมหญ่า

      Reply
      • คนไม่ชอบเอาเปรียบใค 25/09/2017 @ 14:09

        สรุปคือต่างจังหวัดได้ใช้แค่เดือน200-300บาท ไม่มีรถไฟฟ้าไม่มีใต้ดิน แล้วกดเงินมาใช้ที่จำเปนอย่างอื่นก้ไม่ได้เช่นค่าไฟ,ค่าน้ำเป็นต้น แล้วจะให้คนต่างจังหวัดลงทะเบียนเพื่ออะไรค่ะ อย่างค่าเดินทางอ่ะค่ะคนจนจะเดินทางไปไหนได้ค่ะแร้วค่าก๊าซอ่ะค่ะถังละหลายร้อยแต่ลดแค่45บาทแถมต่อ3เดือน คุ้มสำหรับคนกทม.แระปริมณฑลแค่นั้นล่ะค่ะกรุณาดุความจำเปนแระไปได้ในต่างจังหวัดด้วยนะค่ะก้ม่ได้ขอให้ช่วยเยอะแต่ให้ช่วยในสิ่งที่จำเปนจิงๆนะค่ะรึม่ก้แก้ปันหาคือนโยบายเหมือนแต่สามารถให้กดเงินออกมาใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟรึที่จำเปนอื่นๆดีกว่ามั้ยค่ะ

        Reply
    • กรณีถ้าเจ้าตัวไม่สามารถรับด้วยตัวเองสามารถรับแทนได้หรือเปล่าค่ะ

      Reply
  2. รถไฟฟ้ารวมทั้งใต้ดินบนดินหรอเปล่า

    Reply
  3. ควรบอกร้านธงฟ้าอยู่ที่ไหนบ้าง

    Reply
  4. ทำไมไม่ให้เงินสดค่ะ ไม่เข้าใจ ไม่ได้ช่วยอะไรเลยค่ะ เพราะบางอย่างมันก็ใช้บัตรซื้อไม่ได้ มิหน้ำซ้ำยังรอนาน ไม่ช่วยอะไรเลยค่ะ แย่มากๆ ระบบอะไรไม่รู้ค่ะ ผิดหวังจริงๆ

    Reply
  5. จะโกงกินกันทั้งทีทำได้แค่เงินเหลือจากบัตรหรอ

    Reply
  6. อยู่ บ้าน นอก ใช้ ยัง งัย ว่ะ
    รถไฟก็ไม่มี
    รถ บขส ก็ไม่มี
    ร้าน ธง ฟ้า ก็ ไม่ มี
    เวรกรรมจริงๆ

    Reply
  7. ทวีศักดิ์ 26/09/2017 @ 09:04

    อยู่ตจว.ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปใหน รวมแล้วสวัสดิการเกี่ยวกับค่าเดินทางสูงมาก 1,500 บาท / เดือน สงสัยต้องได้ไปนั่งรถไฟฟ้า รถบขส.และรถไฟในกทม.โดยไม่เกิดประโยชน์สักนิด+เสียเวลา แต่ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าอุปโภคบริโภคกลับให้สิทธิน้อยนิด 200 ,300บาท ขอบคุณที่อยากช่วย แต่ถ้าช่วยแบบนี้อย่าเลย ลำบากคนต้องใช้สิทธิเพื่อต้องไปนั่งรถบขส. รถไฟ รถไฟฟ้า เข้าใจนะว่าต้องการให้เงินหวนกลับสู่ภาครัฐเหมือนเดิม แต่ควรนึกถึงความน่าจะเป็น ข้อเท็จจริงของวิถีชีวิตชาวบ้านจริงๆว่า ในหนึ่งวันของชีวิตนั้นพวกเขามีวิถีกินอยู่อย่างไร? ถ้าเข้าใจแล้วเมื่อนั้นรัฐอยากจะช่วยปชช.ก็ช้วยได้จริงสมดั่งตั้งใจครับ

    Reply
  8. หนึ่ง 27/09/2017 @ 18:56

    1. สะสมยอดไม่ได้ ทุกคนที่มีสิทธิ์ ก็จะหาทางใช้ ให้ครบวงเงิน แต่ถ้าเกินวงเงินทำไง
    2. ไม่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ อันนี้จะจริงมั๊ย

    Reply
  9. ไม่ประสงค์ออกนาม 30/09/2017 @ 07:17

    บ้านนอกอย่างผมไปไหนมาไหนก็แค่เดินไม่ค่อยได้ใช้หรอกครับ รถไฟเอ่ย รถเมล์เอ่ย รถโดยสารก็ไม่ได้ใช้ ธงฟ้าก็อีกแหระผมเห็นแค่ปีละครั้งที่มา แล้วผมจะเอาไปใช้อะไรได้บ้างละครับ ช่วยบอกผมหน่อยสิครับ แต่ละพื้นที่มันไม่ได้มีครบทุกอย่างนะครับ หากเนื้อหาทำให้ไม่พอใจก็ขอโทษด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

    Reply
  10. อนุพงษ์ 02/10/2017 @ 10:41

    บ้านอยู่ต่างจังหวัด จะเข้ามาตัวเมืองแต่ละทีลำบากมาก สรุปคือเช่ารถ ไป – กลับ 350 บาท เพื่อมาแลกส่วนลดสินค้า 300 บาท แค่คิดก็ขาดทุนไป 50 บาทละ ข้าวเช้า ข้าวกลางวันอีก เพลียเลย.

    Reply
  11. คนใน กทมและปริมลฑล ได้มากกว่าคนต่างจังหวัด 500฿/เดือน(ค่ารถเมล์รถไฟฟ้า) นอกนั้นได้สิทธิเท่ากันหมด แบบนี้คนต่างจังหวัดก็เสียเปรียยคนที่อยู่ใน กทมและปริมลฑลสิคะ จริงๆทุกวันนี้ระหว่างใน กทมและปริมลฑล กับ ต่างจังหวัด ค่าครองชีพนี้เท่ากันทุกอย่างแล้วนะคะ ทำไมไห้สิทธิคนทุกพื้นที่เท่ากันหมด ให้ต่างกันสำหรับคนที่มีรายได้ต่อปีต่างกันก็พอ ให่เป็นเงินมาเป็นก้อนเหมือนปีที่แล้วยังจะดีซะกว่า ใครจะเอาไปทำอะไรก็สุดแท้แล้วแต่เขา ปีนี้ห่วยแตกมากสุดๆ

    Reply
  12. ไม่ขอออกนาม 09/10/2017 @ 17:27

    ต่างจังหวัดมาใช้ในกรุงเทพฯใด้ไหม

    Reply
  13. มาโนช 17/10/2017 @ 14:08

    ใช้งบประมาณ 3,615 ล้านบาท เงินจากกองทุนประชารัฐที่จัดสรรไว้จำนวน 46,000 ล้านบาท ถ้าดูจากผลที่ประชาชนจะได้รับที่มีประโยชน์จริง ไม่เกิน 300 บาท ค่าอุปโภคและค่าก๊าสหุงต้ม แต่งบประมาณดดนตัดจริงเท่าไร จะตรวจสอบได้หรือไม่ ที่่บอกว่าได้ประโยชน์แค่นี้ เพราะส่วนใหญ่เป็นค่ารถ คนจน คนแก่ จะให้เขาเดินทางไปไหนกันหนักหน่า โดยเฉพาะ ต่างจังหวัดมีอต่รถสองแถว รถตู้ ก็ใช้สิทธิ์ไม่ได้ …คิดกันมาได้ไง

    Reply
  14. อยากเห็นความยุติธรรม 17/10/2017 @ 14:08

    ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้คัดเลือกผู้มีสิทธิ์ได้รับบัตรฯ ใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน คนที่รายได้น้อยไม่ได้รับบัตร ทั้งๆที่ลงทะเบียนครั้งแรกได้รับเงินหนึ่งพันห้าร้อยบาทไปแล้ว มีรายได้เดือนละสี่พันกว่าบาทถือว่าน้อยหรือไม่ และทำไมคนที่มีเงินให้คนอื่นกู้ถึงได้รับบัตร

    Reply
  15. บ้านนอกเปลี่ยนจากค่าเดินทางเป็นค่าน้ำค่าไฟยังจะมีประโยชน์กว่า แล้วทำไมต้องทำระบบให้มันยุ่งยากด้วยค่ะ กดเป็นตังค์ดีกว่ามั้ย ในแต่ละที่มีแค่ร้านเดียวแต่มาเป็นร้อยหมู่บ้านไปรอแต่หกโมงเช้า ได้หกโมงเย็น สงสารคนแก่ คนพิการต้องไปรอคิวกว่าจะได้ แล้วไม่ใช่ใกล้ๆค่ะ อยากให้ปรับปรุงให้ดีกว่านี้ค่ะ

    Reply
  16. แค่อยากถาม 18/10/2017 @ 17:05

    อย่างต่างจังหวัด/มีแต่รถประจำทางบัตรสวัสดิการไม่ครอบครุมอย่างนี้ก้อเสียสิทธิไปใช่ไม๊/เข้าข่ายทุจริตป่าวค่ะ

    Reply
  17. niyom weotong 20/10/2017 @ 12:09

    คือผมไม่ได้ใช้บริการรถเมล์ รถบขส.หรือรถไฟ นานๆจะใช้บริการครั้งจะนำส่วนนี้มาใช้ชื้อของใช้จำเป็นแทนน่าจะดีน่ะครับ

    Reply
  18. อยู่บ้านนอกอย่างงี้ รถไฟรถไฟฟ้ารถเมล์บขส ไม่เคยได้พบ อย่าว่าแต่ได้ขึ้นเล๊ย มีก๋ยังไม่มีให้ขึ้นแบบนี้ มันก็เสียสิทธิ์ไปเฉยๆเลยอ่ะดิ เสียเปลี่ยบเกินปัย คนที่ได้ใช้รถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้าบขส เดือนหนึ่งเขาก็ได้ประหยัดเงินไป2300 เราเราอยู่บ้านนอก ก็ได้ช่วยประหยัดแค่ 300มันเกินไปควรจะตรวจสอบว่าสถานที่ไหนมีรถไฟรถไฟฟ้ารถเมล์ หน่อยน้ะค่ะแบบนี้คงไม่ได้เรียกว่าเงินคนจนหรอก เงินคนรวยมากก่า มั้ง

    Reply
  19. เห็นใจคนที่อยู่ไกล 27/10/2017 @ 14:26

    ใช้สิทธิ 200 บาท ในชนบท แค่ค่ารถก็จะหมดแล้วค่ะ

    Reply
  20. ไม่ประสงค์ออกนาม 27/11/2017 @ 22:13

    ในกรณีที่ร้านค้าเก็บบัตรไว้ไม่คืนลูกค้าตอนไปซื้อสินค้าโดยใช้บัตร แล้วบอกว่าให้มาเอาในสัปดาห์ต่อไปแต่พอไปถามเอาบัตรคืนก็บอกปัดว่าบ แต่ร้านอื่นไม่เห็นเขาเก็บบัตรไว้เลย มีร้านนี้ล่ะที่เก็บอย่างนี้เข้าข่ายฉ้อโกงมั้ย อยากทราบว่าทางรัฐจะทำอย่างไรในกรณีอย่างนี้ ร้านนี้เป็นร้านขายยาชื่อดังในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีหน่วยงานมาตรวจสอบดูบ้างน่าจะดี

    Reply

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.