ตลาดประชารัฐ คืออะไร? พร้อมทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ “ตลาดประชารัฐ”

“ตลาดประชารัฐ” อาจเป็นคำใหม่ที่หลายคนเพิ่งเคยได้ยิน และอาจจะสงสัยว่า คืออะไร? มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไรบ้าง วันนี้ Zcooby  ขอแนะนำสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับตลาดประชารัฐมาฝากทุกท่านครับ

ตลาดประชารัฐ คืออะไร?

โครงการตลาดประชารัฐเป็นการบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในรูปแบบประชารัฐ เพื่อพัฒนาตลาดใหม่และขยายพื้นที่ตลาดที่มีอยู่เดิม ให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มประเภทสินค้าในแต่ละระดับทั้งเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการ หาบเร่ แผงลอย รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย

โครงการตลาดประชารัฐ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีวิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ประชารัฐ รักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด โดยบูรณาการตลาดประชารัฐทั้ง ๙ ประเภท ภายใต้โครงการ “ตลาดประชารัฐ” และให้ดำเนินการพร้อมกันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560

หากคุณสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ http://www.market.moi.go.th

ตลาดประชารัฐ 9 ประเภทมีอะไรบ้าง?

1. ตลาดประชารัฐ Green Market
2. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้
3. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ
4. ตลาดประชารัฐ กทม. คืนความสุข
5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด
6. ตลาดประชารัฐ Modern Trade
7. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส.
8. ตลาดประชารัฐต้องชม
9. ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม

รายละเอียดของตลาดประชารัฐแต่ละประเภท

1. ตลาดประชารัฐ Green Market

ดำเนินการโดย : องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย
ลักษณะตลาด : ตลาดอาหารสุขภาพ (Green Market)
แนวคิด : เปิดพื้นที่ตลาดใหม่ ขยายพื้นที่ตลาดเดิม กระจายอยู่ในภูมิภาค ยกระดับมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรและอาหารปลอดภัย
พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดขององค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

  1. ตลาดตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
  2. ตลาดบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
  3. ตลาดลำพูน จังหวัดลำพูน

เวลาทำการ : วันศุกร์ – เสาร์ หรือ วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 12.00 – 20.00 น.

สินค้าที่จำหน่าย

  1. อาหารสุขภาพอาหารปลอดภัย สินค้าโฮมเมค ผักผลไม้ร้อยละ 50
  2. อาหารพร้อมทาน สะอาด ถูกสุขอนามัย ร้อยละ 30
  3. สินค้าอื่นๆ เช่น สินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ ร้อยละ 20

************************************

2. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้

ดำเนินการโดย กรมการพัฒนาชุมชน
ลักษณะตลาด : สินค้าเกษตร โอทอป หาบแร่ และแผงลอย
แนวคิด : บริหารจัดการพื้นที่เดิม เพิ่มผู้ประกอบการ โดยขยายพื้นที่และวันดำเนินการ โดยเพิ่มจากทุกวันจันทร์ พุธ และ ศุกร์ เป็นอีกอย่างน้อย 1 วัน (วันอังคาร และ/หรือพฤหัสบดี) เพื่อให้เกษตรกรนำผลผลิตมาขาย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์
พื้นที่ดำเนินการ : ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดและอ าเภอ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และสถานที่เอกชน จำนวน 2,155 แห่ง
เวลาทำการ : (1) ทุกวัน (2) ทุกสัปดาห์ หรือ (3) ทุกเดือน
สินค้าที่จำหน่าย: สินค้าเกษตร โอทอป และ สินค้าอุปโภคบริโภค

************************************

3. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ

ดำเนินการโดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ลักษณะตลาด : สินค้าเกษตรกรในท้องถิ่น
แนวคิด :

  1. บริหารจัดการเพิ่มพื้นที่การขายในตลาดเดิม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารตลาด ลดค่าธรรมเนียมการเช่า เปิดโอกาสให้เกษตรกรนำผลิตผลมาขายเอง
  2. เพิ่มวันทำการ โดยเฉพาะตลาดถนนคนเดินเดิม
  3. ลดค่าธรรมเนียมให้ผู้ค้ารายใหม่ โดยเฉพาะเกษตรกรที่นำผลผลิตมาค้าขายเอง

พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลาดของเทศบาล และตลาดเอกชน ทั่วประเทศ 76 จังหวัด จำนวน 3,822 แห่ง
เวลาทำการ : ทุกวัน
สินค้าที่จำหน่าย:

  1. ผลผลิตทางการเกษตร
  2. อาหารท้องถิ่น
  3. สินค้าแปรรูป
  4. ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
  5. อื่นๆ

************************************

4. ตลาดประชารัฐ กทม. คืนความสุข

ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานคร
ลักษณะตลาด : ตลาดค้าขายอาหารปรุงสด ของชำ เสื้อผ้า โดยตลาดเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง
แนวคิด : จัดที่ทำการค้าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย รวมทั้ง จัดจำหน่ายสินค้า OTOP ของทั้ง 50 เขตในกรุงเทพมหานคร
พื้นที่ดำเนินการ : ปัจจุบันเปิดดำเนินการแล้ว 5 แห่ง ได้แก่

  1. ใต้ทางด่วนพงษ์พระราม
  2. หน้าภัตตาคารกุ้งหลวง
  3. บริเวณใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  4. ลานจอดรถข้างสวนลุมพินี
  5. พื้นที่ตรงข้ามวัดสุทธิวราราม (ซ.เจริญกรุง 60)

และจะดำเนินการเพิ่มเติมในอนาคต
เวลาทำการ : ตามเวลาที่ กทม. กำหนด
สินค้าที่จำหน่าย: อาหาร ผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าอื่นๆ รวมทั้งสินค้า OTOP
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีที่สถานที่ค้าขาย

************************************

5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด

ดำเนินการโดย จังหวัด และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด
ลักษณะตลาด : ตลาดเฉพาะกิจ จำหน่ายสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดและการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจังหวัด โดยจะพิจารณาจัดในช่วงฤดูกาล/งานส าคัญ/งานประเพณีที่สำคัญ
แนวคิด :

  1. การจำหน่ายสินค้าที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ สินค้าตามฤดูกาล สินค้าที่ล้นตลาด เช่น ตลาดปลา ผลไม้ ข้าวสาร
  2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
  3. การแลกเปลี่ยนการขายสินค้าระหว่างจังหวัด

พื้นที่ดำเนินการ : บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด หน้าที่ว่าการอำเภอ สถานที่ราชการ/รัฐวิสาหกิจ และสถานที่ท่องเที่ยว ทั่วประเทศ 76 จังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 ครั้ง
เวลาทำการ : ตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด
สินค้าที่จำหน่าย: สินค้า OTOP วิสาหกิจชุมชน, สินค้าโดดเด่นในพื้นที่/ของดีจังหวัด สินค้าล้นตลาดเพื่อช่วยเกษตรกรในภูมิภาคใกล้เคียงกัน
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกร /SMEs ผู้มีรายได้น้อย

************************************

6. ตลาดประชารัฐ Modern Trade

ด าเนินการโดย กระทรวงพาณิชย์ จังหวัด และบริษัท ประชารัฐ
รักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จ ากัด
ลักษณะตลาด : ตลาดเฉพาะกิจในพื้นที่ของห้างสรรพสินค้า
แนวคิด : กระทรวงพาณิชย์ จังหวัด และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จ ากัด
ร่วมกับห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ด าเนินการในลักษณะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (Creating
Share Value : CSV) เพื่อให้ผู้ประกอบการระดับชุมชน เกษตรกร ได้มีโอกาสค้าขายใน
ห้างสรรพสินค้า เป็นการสร้างโอกาสเชิงรุกหาลูกค้า
พื้นที่ด าเนินการ : พื้นที่เอกชนและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ที่ร่วมโครงการฯ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด
อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
เวลาท าการ : ตามเวลาท าการของห้างสรรพสินค้า
สินค้าที่จ าหน่าย: ผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เป็นตามข้อตกลงของ
ห้างสรรพสินค้า
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการทุกประเภทที่ผ่านการคัดเลือก

************************************

7. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส.

ดำเนินการโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ลักษณะตลาด : แหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตร/เกษตรอินทรีย์/สินค้าชุมชน/ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย สมุนไพร
แนวคิด : เพิ่มพื้นที่ทางการตลาดบริเวณหน้าธนาคาร สร้างมาตรฐานสินค้า เปิดพื้นที่ค้าขายสินค้าบริเวณปั้มน้ำมัน ปตท. และบางจาก การทำ Matching product กับ ธ.ก.ส. สาขาอื่น
พื้นที่ดำเนินการ : ดำเนินการบริเวณหน้า ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ 76 จังหวัด รวม 152 แห่ง และบริเวณหน้าอาคาร ธ.ก.ส. ส านักงานใหญ่ 1 แห่ง
เวลาทำการ : สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

สินค้าที่จำหน่าย:

  1. พืชผัก สินค้าหรือผลิตผลการเกษตรตามฤดูกาลของพื้นที่ โดยเน้นสินค้าที่มีคุณภาพดี มีการรับรองคุณภาพหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดผู้มาจับจ่ายในตลาดมากยิ่งขึ้น
  2. สินค้าที่ชื่อเสียงของพื้นที่ สินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาวของจังหวัดหรือจากจังหวัดอื่น
  3. สินค้าที่ส่วนงานราชการส่งเสริมการผลิตในพื้นที่ เช่น สินค้าที่ผลิตตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหรือนโยบายแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น
  4. สินค้าที่มีปัญหาเรื่องราคาหรือการตลาดในพื้นที่หรือจากพื้นที่อื่น
  5.  สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด ของกระทรวงพาณิชย์
  6. สินค้าแปลกหรือที่มีชื่อเสียงจากจังหวัดอื่นหรือจังหวัดใกล้เคียง
  7. อาหารและเครื่องดื่ม
  8. สินค้าของ สกต. / TABCO

************************************

8. ตลาดประชารัฐต้องชม

ดำเนินการโดย กระทรวงพาณิชย์
ลักษณะตลาด : ตลาดชุมชนที่มีเอกลักษณ์พาณิชย์ (การปิดป้ายแสดงราคา เครื่องชั่งเที่ยงตรง ราคาเป็นธรรม) และอัตลักษณ์ของชุมชน (ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต) ผสมผสานยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
แนวคิด : ส่งเสริมการจัดการตลาดชุมชนที่มีความพร้อมที่มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น การท่องเที่ยวชุมชน กระตุ้นการค้าขาย โดยดำเนินการในปี 2559 -2560 จ านวน 151 แห่ง ในปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มเติม 77 แห่ง (77 จังหวัด)
พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดชุมชน ตลาดน้ำ ตลาดในแหล่งท่องเที่ยว
เวลาทำการ : ขึ้นอยู่กับแต่ละตลาด โดยมีทั้งตลาดที่เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เปิดอาทิตย์ละ 3 วัน หรือทุกวัน

สินค้าที่จำหน่าย:

  1. สินค้าเกษตร
  2. อาหารปรุงส าเร็จ
  3. สินค้า OTOP
  4. สินค้า Handmade

************************************

9. ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม

ดำเนินการโดย กระทรวงวัฒนธรรม
ลักษณะตลาด : ตลาดของชุมชน จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง สินค้าวัฒนธรรมของชุมชน
แนวคิด : ส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรม เปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน การแสดงและการสาธิตทางวัฒนธรรม และการบริการทางวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนกินดีอยู่ดี สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 – 2560 ได้ดำเนินการเปิดถนนสายวัฒนธรรมแล้ว 32 แห่ง 28 จังหวัด และในปีงบประมาณ 2561 ให้ดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศ 76 จังหวัด
พื้นที่ดำเนินการ : ถนนคนเดินในพื้นที่ที่อยู่ในจังหวัดหรืออำเภอ (รวม 76 แห่ง)
เวลาทำการ : วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์
สินค้าที่จำหน่าย: สินค้าพื้นเมือง เช่น อาหารพื้นเมือง เสื้อผ้า ผ้าพื้นเมือง งานฝีมือของใช้ต่างๆ
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ให้บริการทางวัฒนธรรมกลุ่มร้านอาหาร กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่
ลักษณะเฉพาะ : เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ที่มีความต้องการขายสินค้าและบริการในพื้นที่ถนนสายวัฒนธรรม

******************************************

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.