สติ๊กเกอร์ส่วยรถบรรทุก คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? #ส่วยทางหลวง

หลังจากที่มีการแฉเกี่ยวกับ สติ๊กเกอร์ส่วยรถบรรทุก หลายคนอาจจะสงสัยว่า มันคืออะไร? มีประโยชน์แก่ผู้ที่ซื้อสติ๊กเกอร์นี้อย่างไรบ้าง? วันนี้ Zcooby ขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแนะนำให้ทราบครับ

สติ๊กเกอร์ส่วยรถบรรทุก คืออะไร?

สติ๊กเกอร์ส่วยรถบรรทุก หรือบางคนเรียกว่า สติ๊กเกอร์ Easy Pass (คนละอันกับที่ใช้ผ่านช่อง Easy Pass บนทางด่วน) เป็นสติ๊กเกอร์หลากหลายลาย หลากหลายรูปแบบ ที่มักจะนิยมติดไว้หน้ารถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งข้ามจังหวัดต่างๆ

วัตถุประสงค์ของสติ๊กเกอร์นี้ มีไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แจ้งให้กับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลเรื่องน้ำหนักรถบรรทุกทราบว่า รถคันนี้ได้รับการ”ยกเว้น” ในเรื่องของการตรวจสอบน้ำหนักบรรทุก

โดยสติ๊กเกอร์นี้จะมีหลากหลายรูปแบบ และมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 เดือน เนื่องจากจะต้องมีการจ่ายค่าสติ๊กเกอร์อยู่เป็นระยะ และมีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับสติ๊กเกอร์ดังนี้

มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น พระอาทิตย์ยิ้ม กระต่าย ผีตาโขน ประเทศไทย กังฟูแพนด้า ดาว ใบไม้ ใบโพธิ์ ไจแอนท์ หรือเป็นตัวอักษรย่อ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ (หากมีสติ๊กเกอร์อื่นนอกเหนือป้ายวงกลม ติดอยู่บนรถบรรทุก ให้สงสัยไว้ก่อนว่า น่าจะเป็นสติ๊กเกอร์ประเภทนี้)

มีตัวเลขบนสติ๊กเกอร์ ซึ่งน่าจะหมายความถึงเดือนๆ นั้น เช่นถ้ามีเลขห้าไทย ก็หมายความว่า สติ๊กเกอร์นั้นใช้ได้ภายในเดือนพฤษภาคมเท่านั้น

จำกัดพื้นที่ในการวิ่ง สติ๊กเกอร์แต่ละอัน ก็จะมีการจำกัดพื้นที่ในการวิ่ง เช่น บางอันครอบคลุม 6 จังหวัดภาคกลาง หรือบางอันสามารถวิ่งได้ทั้งภาคอีสาน (ราคาสติ๊กเกอร์ก็จะสูงขึ้น) หากวิ่งในพื้นที่นอกเหนือที่สติ๊กเกอร์กำหนด ก็จะไม่คุ้มครอง

ราคาสติ๊กเกอร์ ส่วนของราคาสติ๊กเกอร์นั้น ก็จะมีแตกต่างกันไปตามระยะเวลา พื้นที่วิ่ง เช่น ถ้าแบ่งตามขนาดของด่าน ก็จะมีตั้งแต่ 3,000 – 100,000 บาท / เดือน ถ้าแบ่งตามพื้นที่โรงพัก ก็จะมีตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท (อ้างอิงข้อมูลจาก ศุภศักดิ์ รุ่งเจิดฟ้า ที่ปรึกษาสมาคมขนส่งทางบกฯ)

สิทธิพิเศษอื่นๆ สำหรับรถบรรทุกที่ติดสติ๊กเกอร์เหล่านี้ นอกจากจะสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ไม่จำกัด และไม่ต้องถูกเรียกเข้าด่านชั่งน้ำหนักแล้ว บางอันยังมีสิทธิพิเศษในการได้รับการแจ้งเตือนผ่านไลน์ให้เลี่ยงด่านตรวจอีกด้วย

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.