หลังจากที่มีข่าวเรื่อง เจ้าคุณพิพิธ’ เผยสังฆาธิการ ‘คว่ำบาตร’ สำนักพุทธฯ บอก สัมพันธ์สะบั้นเพราะอะไรคิดเอาเอง ทำให้หลายคนที่เพิ่งเคยได้ยินคำว่า สังฆาธิการ อาจจะสงสัยว่า คืออะไร? วันนี้ Zcooby ขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
สังฆาธิการ คืออะไร?
พระสังฆาธิการ หมายถึง พระภิกษุผู้มีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ไทย นับตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปจนถึงเจ้าคณะภาค
ตำแหน่งต่างๆ ของพระสังฆาธิการ
*ตาม “กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ” คือพระภิกษุที่ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้[2]
- เจ้าคณะใหญ่
- เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค
- เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด
- เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ
- เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล
- เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
การแต่งตั้งและการพ้นตำแหน่งของพระสังฆาธิการ
พระภิกษุที่จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- มีพรรษาสมควรแก่ตำแหน่ง
- มีความรู้สมควรแก่ตำแหน่ง
- มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย
- เป็นผู้มีความสามารถในการปกครองคณะสงฆ์
- ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน
- ไม่เคยถูกถอดถอน หรือถูกปลดจากตำแหน่งใด เพราะความผิดมาก่อน
การพ้นจากตำแหน่ง พระสังฆาธิการจะพ้นจากตำแหน่งก็ต่อเมื่อ
- มรณภาพ
- พ้นจากความเป็นภิกษุ
- ลาออก
- ย้ายออกไปนอกเขตที่ตนมีสำนักอยู่
- ยกเป็นกิตติมศักดิ์
- รับตำแหน่งหน้าที่อื่น
- ให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่
- ถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่
- ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหน้าที่
ส่วนตำแหน่งที่ไม่ใช่พระสังฆาธิการ ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช, กรรมการมหาเถรสมาคม, แม่กองบาลีสนามหลวง, แม่กองธรรมสนามหลวง, แม่กองพระธรรมทูต, พระอุปัชฌาย์
Be the first to comment