หลังจากที่มีข่าวว่า วันนี้ (18มี.ค.63) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการสวดบทเจริญพระพุทธมนต์บทรัตนสูตร หรือ รัตนสูตร ที่เชื่อกันว่าเป็นบทสวดเพื่อขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ โรคภัยไข้เจ็บ และเป็นโบราณราชประเพณี หลายคนอาจจะอยากทราบความเป็นมาของบทสวดนี้
ตำนานของบทรัตนสูตร
สมัยหนึ่งเมืองเวสาลีเกิดฝนแล้งขาดอาหารปลูกพืชผักไม่ได้ มีคนอดอยากล้มตายมากมาย มีโรคอหิวาต์ระบาด ซากศพถูกโยนทิ้งนอกเมืองมากมาย พวกอมนุษย์ได้กลิ่นศพก็พากันเข้ามาในเมือง ทำอันตรายคน ทำให้เมืองเวสาลีประสบภัย 3 อย่าง คือ
- ทุพภิกขภัย คือ ข้าวยากหมากแพง
- อมนุสสภัย คือ อมนุษย์ทำร้ายผู้คน
- โรคภัย คือ เกิดโรคระบาด
เหล่าอำมาตย์ และชาวเมืองจึงช่วยกันพิจารณาว่าเมืองนี้ไม่เคยเกิดเพทภัยแบบนี้มาถึง 7 รัชสมัย จึงกราบทูลถามผู้ครองนครว่าภัยเกิดเพราะพระราชาไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมหรือไม่
พระราชาได้รับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันพิจารณาหาโทษของพระองค์ ชาวเมืองก็ไม่สามารถพิจารณาหาโทษได้ แสดงว่าพระองค์ตั้งอยู่ในธรรมดี ดังนั้นจึงปรึกษากันว่าควรจะนิมนต์ พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาโปรด จึงส่งกษัตริย์ลิจฉวีเป็นผู้ไปนิมนต์
เมื่อพระพุทธองค์มาถึง พระอินทร์ พร้อมด้วยเทพบริวารจำนวนมากได้มาเฝ้า ทำให้พวกอมนุษย์ต้องหลบหนีไป พระพุทธองค์ทรงสอนพระปริตรนี้แก่พระอานนท์ ให้ท่านสวดรอบเมืองที่มีกำแพงแก้ว ๓ ชั้น ตลอด ๓ ยาม พวกอมนุษย์ที่ยังเหลืออยู่ได้หลบหนีไปจนหมด เพราะกลัวอานุภาพพระปริตร
ฝนก็ตกต้อง ตามฤดูกาล โรคระบาดก็ระงับลง ชาวเมืองก็อยู่เป็นสุขอีกครั้ง
บทสวดรัตนสูตร
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าภูตทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย อันข้าพเจ้ากล่าว โดยเคารพเถิด
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ขอท่านทั้งหลาย จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ซึ่งเขาทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันกลางคืน
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด
(**ซ้ำ) ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
หรือรัตนะอันใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า ไม่มีเลย
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง, ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทรงสรรเสริญสมาธิว่าเป็นธรรมอันสะอาด
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่าสมาธิเป็นคุณธรรมอันให้ผลโดยลำดับสม่ำเสมอ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
คุณธรรมอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา
บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เอเตสุ ทันนานิ มะหัปผะลานิ
ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด
Be the first to comment