คดีไร่ส้มและสรยุทธ มีที่มาที่ไปอย่างไร? (บทสรุป)

หลังจากที่มีข่าวว่า ทางศาลได้มีการพิพากษาในคดีบริษัทไร่ส้มให้จำคุกสรยุทธ สุทัศนะจินดา 13 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา หลายคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของคดีบริษัทไร่ส้มและคุณสรยุทธ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทำไมคุณสรยุทธถูกตัดสินจากความผิดเรื่องอะไรถึงเป็นเหตุให้ศาลมีคำพิพากษาจำคุกถึง 13 ปี โดยไม่รอลงอาญา ทาง Zcooby ขอทำการสรุปเนื้อหาให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ

คดีไร่ส้ม

ที่มาที่ไปของ คดีไร่ส้ม+สรยุทธ

ขอเริ่มต้นจากสมัยก่อน ย้อนไปในช่วงที่มีช่อง itv ชื่อของ “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” ซึ่งเป็นหนึ่งในนักข่าวยุคบุกเบิกของ itv โดยคุณสรยุทธเป็นนักข่าวที่มีความโดดเด่น ด้วยสไตล์การเล่าข่าวแบบถึงลูกถึงคน ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ชมไม่น้อย

โดยรายการที่ถือว่าเป็นการแจ้งเกิดก็คือรายการ “เก็บตกจากเนชั่น” และ “คมชัดลึก” โดยจัดรายการร่วมกับ คุณกนก รัตน์วงศ์สกุล ในช่องเนชั่น

ซึ่งต่อมาทางช่อง 3 ได้ชักชวนให้คุณสรยุทธมาทำรายการสไตล์เล่าข่าวตอนเช้า (ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้”) แต่ปัญหาก็คือ ทางเนชั่นทีวีก็มีรายการข่าวเช้าที่จัดโดยคุณสรยุทธด้วย (รายการ “เก็บตกจากเนชั่น”) ทางเนชั่นจึงไม่อนุญาตให้ไปทำรายการกับทางช่อง 3

ทางคุณสรยุทธจึงได้ตัดสินใจลาออกจากเนชั่นฯ (จนคุณสุทธิชัย หยุ่น บิ๊กบอสเนชั่นฯ ถึงกับออกมาพูดว่า “เนรคุณ”)

ต่อมาช่อง3 ก็มาจีบให้เฮียไปทำรายการเล่าข่าวในช่วงเช้า (ต่อมากลายเป็นรายการ เรื่องเล่าเช้านี้) แต่ๆๆ ตอนเช้าแกก็มี “เก็บตกจากเนชั่น” ด้วยไง เนชั่นฯก็เลยไม่ยอมให้ไป

 

หลังจากเป็นพิธีกรรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” และ “ถึงลูกถึงคน” ทางช่อง 9 อสมท. โดยในตอนนั้นคุณสรยุทธเป็นแค่ผู้ดำเนินรายการ ส่วนช่อง 3 กับช่อง 9 เป็นผู้ดูแลการผลิตทั้งหมด

ต่อมาช่อง 9 อยากให้มีทางช่องมีรายการคุยข่าวแบบทางช่อง 3 อย่างเรื่องเล่าเช้านี้ จำได้ยื่นข้อเสนอให้คุณสรยุทธเป็นผู้ร่วมผลิตรายการแล้วแบ่งเวลาโฆษณากันคนละครึ่ง จึงออกมาเป็น “คุยคุ้ยข่าว”

จุดนี้เมื่อต้องเป็นผู้ร่วมผลิตรายการ ทางคุณสรยุทธจึงตัดสินใจเปิดบริษัทขึ้น เพื่อให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น จึงเป็นที่มาของ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด

จุดเริ่มต้นของคดีไร่ส้ม

ในสัญญาที่ทางบริษัทไร่ส้ม ได้ทำกับทางช่อง 9 อสมท. มีข้อกำหนดว่า

  • รายการที่ออกอากาศในวันเสาร์-อาทิตย์ จะอนุญาตให้โฆษณาได้ครั้งละ 5 นาที
  • ในกรณีที่มีการโฆษณาเกิน 5 นาที จะต้องจ่ายค่าเกินเวลาให้กับทาง อสมท. ในอัตรานาทีละ 200,000 (สองแสนบาท)
  • รายการที่ออกอากาศในวันจันทร์-ศุกร์ อนุญาตให้โฆษณาได้ครั้งละ 2 นาที 30 วินาที
  • ถ้าเกินจากที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าเกินเวลาให้ทาง อสมท. ในอัตรานาทีละ 240,000 บาท (สองแสนสี่หมื่นบาท)

และทั้งสองฝ่ายก็ได้ตกลงทำสัญญากัน

ต่อมาสหภาพแรงงานช่อง 9 ได้พบว่า บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ค้างชำระรายได้จากการโฆษณาเกือบ 100 ล้านบาท และทางคุณสรยุทธก็ได้มีการจ่ายค่าค้างชำระโฆษณาแล้ว

แต่เรื่องไม่จบแค่นั้น เพราะตามกฎเกณฑ์แล้ว ในฐานะที่ช่อง 9 เป็นรัฐวิสาหกิจ หากมีความผิดเกิดขึ้น จะต้องมีตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนถึงความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งผลของการสอบสวนสรุปว่า มีความผิดจริง และได้ทำการส่งเรื่องต่อไปยัง ป.ป.ช. แล้วพบว่า

  • จริงๆแล้วมีพนักงานใน อสมท คนนึงที่เป็นคนรับผิดชอบจัดทำคิวโฆษณารวมและเป็นคนที่ต้องทำรายงานกรณีโฆษณาเกินเวลาเพื่อเรียกเก็บเงินจาก บริษัท ไร่ส้ม จำกัด  โดยพนักงานท่านนี้จงใจไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลาของ บ.ไร่ส้ม
  • รายการข่าวเที่ยงคืน มีการออกอากาศล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า รายการของบริษัทไร่ส้มออกอากาศเกินเวลาเพราะมีโฆษณาเกินมา มีผลให้เวลาข่าวเที่ยงคืนต้องไปออกอากาศหลังเที่ยงคืน
  • พนักงานคนเดิมที่จงใจไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลาของ บ.ไร่ส้ม แก่ทาง อสมท. แล้ว ยังช่วยปกปิดด้วยการแก้ใบคิวโฆษณาด้วยน้ำยาลบคำผิด (ซึ่งภายหลังสารภาพว่า ผู้บริหารบริษัทไร่ส้มแนะนำให้ทำ)
  • มีหลักฐานว่า คุณสรยุทธเซ็นชื่อสั่งจ่ายเช็คให้ พนักงานท่านนี้ พร้อมออกเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้รวม 6 ครั้ง เป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท

จากเหตุการณ์ข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ทำการติดสินบนพนักงาน อสมท ผู้ดูแลคิวโฆษณา เพื่อให้ทางบริษัทได้เงินจากการโฆษณามากขึ้น ทาง ป.ป.ช. เลยลงมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ชี้มูลความผิดว่า

  1. เจ้าพนักงานท่านนี้ มีมูลความผิดทางวินัยร้ายแรงและมีมูลความผิดทางอาญา
  2. ส่วนคุณสรยุทธและกรรมการบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ก็มีมูลความผิดทางอาญา ฐานสนับสนุนพนักงานกระทำความผิด

ผลก็คือที่เราเห็นในวันนี้ว่า ศาลอาญาพิจารณาแล้วเห็นว่าผิดจริง สั่งจำคุกคุณสรยุทธและพนักงานในบริษัท ไร่ส้ม จำกัด 20 ปี ลดเหลือ 13 ปี 4 เดือน และให้จำคุกอดีตคน อสมท. คุก 30 ปี ลดเหลือ 20 ปี ไม่รอลงอาญา และปรับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท ตามข่าว

 

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.