ปริญญ์ คือใคร? ประวัติของ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ #ปริญญ์

ปริญญ์ คือใคร? ประวัติของ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ #ปริญญ์ รองหัวหน้าพรรคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์

ปริญญ์ พานิชภักดิ์

ปริญญ์ คือใคร?

ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เป็นนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา) อดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ คณะทำงานของรองนายกรัฐมนตรี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร (Agribusiness) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นบุตรชายของ นายศุภชัย พานิชภักดิ์


ประวัติของ ปริญญ์ พานิชภักดิ์

ชื่อจริง : ปริญญ์ พานิชภักดิ์

วันเกิด : 20 กันยายน 2520

อายุ : 44 ปี

ตำแหน่ง : อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 14 เมษายน พ.ศ. 2565)

ครอบครัว

เป็นบุตรชายของ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ และนางศสัย พานิชภักดิ์ มีน้องสาว 1 คน คือ นางสาวนฤน พานิชภักดิ์

การศึกษา

  • เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
  • ศึกษาระดับไฮสคูลต่อที่ Millbrook House school และ Charterhouse School ประเทศอังกฤษ
  • จบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์และการเงิน BSc. Economics and International Relations จาก L.S.E. (London School of Economics and Political Science) ประเทศอังกฤษ

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม (วธอ.) รุ่นที่ 2
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 15

Facebook : ปริญญ์ พานิชภักดิ์ – Prinn Panitchpakdi


ภาพจากเฟสบุ้ค : ปริญญ์ พานิชภักดิ์ – Prinn Panitchpakdi

การทำงานที่ผ่านมา

ประวัติการทำงาน

  • ตำแหน่งวาณิชธนากร ที่ ABN AMRO Bank สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2545)
  • ตำแหน่งรองประธานอาเซียน-UK Business ฟอรั่ม (AUBF)(พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2548)
  • ผู้ร่วมก่อตั้งเทศกาลหนังไทย-UK (พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2548)
  • รองประธานสายการตลาดและวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ Deutsche Bank – Tisco (พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2550)
  • หัวหน้าสายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต ลียองเนส์ (CLSA) (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551)
  • ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานการลงทุนภูมิภาคเอเชีย บริษัท เครดิต ลียองเนส์ ฮ่องกง (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555)
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ CLSA (พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2562)
  • ที่ปรึกษาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2560)
  • กรรมการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2562)
  • กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562)
  • กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[6] (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562)
  • ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2562)
  • กรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญการศึกษาผลกระทบ CPTPP รัฐสภา (พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2563)
  • ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2565)
  • ผู้ร่วมก่อตั้งร้านอาหารโฟร์ซีซัน (ประเทศไทย) (พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ (NEA) กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
  • กรรมการ บริษัทสินวัฒนา Crowdfunding (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
  • กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน) (พ.ศ.2562-ปัจจุบัน)
  • ที่ปรึกษา และคณะทํางาน ท่านรองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)
  • ที่ปรึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)

ตำแหน่งทางการเมือง

  • ปี 2562 – ตำแหน่งรองหัวพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษารองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา และเลขาธิการคณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา
  • พ.ศ. 2563 – ตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ โดยมีผลงานเป็นที่รู้จักมากมาย อาทิ ผลักดันนโยบายบาซูก้า 2 ล้านล้านบาท โครงการเรียนจบพบงาน โครงการแก้ปัญหาสินค้ามังคุดล้นตลาด เป็นต้น

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.