กระเช้าภูกระดึง (ที่มา,รูปแบบ,ผลกระทบ,ข้อดีและข้อเสีย)

 

หลังจากที่มีข่าวเรื่องที่ประชุมครม.มีมติรับทราบผลการศึกษาโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลย ทำให้ตอนนี้หลายคนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันไป วันนี้ Zcooby ขอนำเรื่องกระเช้าภูกระดึงมาฝากครับ

จุดขึ้นภูกระดึง

ที่มาของกระเช้าภูกระดึง

สำหรับที่มาของกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง มีที่มาจากแนวคิดของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง นับตั้งแต่ปี 2525 ที่ได้มีหนังสือเสนอกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ให้พิจารณานำระบบขนส่งขึ้น-ลง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โดยใช้ยานพาหนะซึ่งเดินทางโดยสายเคเบิล จากนั้นจึงมีลำดับการศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาความเหมาะสม รวมจนถึงการดำเนินงานและการพิจารณาของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกิจกรรมในการระดมความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ เรื่อยมาโดยลำดับ

กระเช้าขึ้นภูกระดึง

รูปแบบของ กระเช้าขึ้นภูกระดึง

“กระเช้าขึ้นภูกระดึง” จะมีรูปแบบดังนี้

  • การสร้างกระเช้าชนิด 8 ที่นั่ง
  • ใช้เสาเหล็ก 7 ต้น
  • สามารถขนผู้โดยสารได้ 4,000 คนต่อชั่วโมง
  • มีระยะทางจากสถานีต้นทางไปปลายทาง 4.4 กิโลเมตร
  • คาดว่าจะใช้งบประมาณก่อสร้างในโครงการนี้กว่า 600 ล้านบาท

ผลศึกษากระเช้าขึ้นภูกระดึง
กระเช้าภูกระดึง

ที่มา : คมชัดลึก

ข้อดีของการมีกระเช้าขึ้นภูกระดึง (ฝ่ายสนับสนุน)

  • สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยว
  • เพื่อศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
  • สูญเสียพื้นที่ป่าน้อย
  • กระทบสัตว์ป่าระดับต่ำ

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระเช้าขึ้นภูกระดึง

  • กำหนดมาตราการที่ชัดเจน
  • ลดผลกระทบระบบนิเวศ
  • บริหารจัดการที่ดีให้ชุมชนท้องถิ่น
  • ควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว

ข้อเสียการมีกระเช้าขึ้นภูกระดึง (ฝ่ายคัดค้าน)

  • ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจชาวบ้านไม่ดีขึ้น
  • คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
  • ขัดต่อหลักท่องเที่ยวพื้นที่คุ้มครอง

แล้วคุณล่ะครับ อยากให้เป็นแบบไหน?

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.