หลังจากที่มีข่าวอดีตเจ้าหน้าที่กรมที่ดินที่เสียชีวิต โดยมีการชันสูตรพบว่า “ตับแตก” หลายคนอาจจะสงสัยว่า สาเหตุของตับแตก เกิดจากอะไร วันนี้ Zcooby หาข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากครับ
ตับแตก เกิดจากอะไร?
อุบัติการณ์ของการบาดเจ็บที่ช่องท้องนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากอุบัติการณ์ต่างๆ จากการใช้ยวดยานพาหนะที่เพิ่มมากขึ้น การทำร้ายร่างกาย หรือการสู้รบ ตับเป็นอวัยวะใหญ่ที่สุดในช่องท้องและค่อนมาทางด้านหน้า จึงมักจะได้รับภยันตรายได้บ่อยทั้งจากบาดแผลทะลุ และจากแรงกระแทก
จากสถิติของการบาดเจ็บที่ท้องของหน่วยอุบัติเหตุโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งรายงานไว้ในปี 2519 นั้น บาดเจ็บที่ตับพบมากเป็นอันดับสองในภยันตรายจากแรงกระแทก (Blunt Injury) และพบเป็นอันดับที่สี่ในภยันตรายของบาดแผลทะลุ (Penetrating Injury) แม้ว่าการรักษาบาดเจ็บที่ตับจะก้าวไปไกลแล้วอัตราตายจากบาดเจ็บชนิดนี้ยังสูง คือ อัตราตายจากบาดเจ็บจากแรงกระแทก มีประมาณร้อยละ 25 และบาดแผลทะลุมีร้อยละ 5 ซึ่งอัตราตายดังกล่าวจากสถาบันต่างๆ แตกต่างกันได้มากขึ้นกับความรุนแรงของอวัยวะที่ได้รับ
ชนิดของการบาดเจ็บที่ตับ
1. ภยันตรายจากบาดแผลทะลุ (Penetrating Injury) ซึ่งอาจเกิดจากการถูกแทง ถูกยิง ถูกสะเก็ดระเบิด หรือการทำการเลาะขึ้นเนื้อตับไปตรวจ (Needle biopsy)
2. ภยันตรายไม่เกิดบาดแผลทะลุ (Blunt Injury) ซึ่งเกิดจากแรงกระแทกทรวงอก หรือท้องเป็นส่วนใหญ่ อาจเกิดจากการถลอก (Birth Trauma) และการนวดหัวใจ (Closed chest cardiac massage) ก็ได้ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการตับแตก
- เป็นหนองในช่องท้องหรือทรวงอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการบาดเจ็บของลำไสัใหญ่ร่วมด้วย
- ไตเสียหน้าที่
- เลือดไม่แข็งตัว (Bleeding diathesis)
- ระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้นหลังผ่าตัด อันเป็นผลจากก้อนเลือดอุดตันทางเดินนํ้าดี หรือมีเลือดไปเลี้ยงตับไม่เพียงพอ (Hepatic Insufficiency) จากภาวะช็อค การสูญเสียเนื้อตับ ห่รือจากการดูดซึมน้ำดีที่รั่วหรือก้อนเลือดที่ละลาย การติดเชื้อหลังผ่าตัดภาวะดีซ่านนี้จะหายไปใน 3 สัปดาห์
- มีเลือดออกในท่อทางเดินนํ้าดี (Hemobilia) จะปรากฎในระยะ 1-3 สัปดาห์หลังบาดเจ็บ ถ้ามีเลือดออกในนํ้าดีถือเป็นข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดอีกครั้งหนึ่ง
- นอกจากนี้อาจมีการบาดเจ็บของทรวงอกร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ลม และเลือดคั่งในปอด
Be the first to comment