สรุปว่า กดไลค์หรือ”ถูกใจ” ข้อมูลที่ผิดกฎหมายนั้น คนกดไลค์ผิดด้วยหรือไม่?

หลังจากที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกมาระบุว่า การกดไลค์ข้อความ หรือภาพ ที่ผิดกฎหมาย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้น เกิดผลให้เกิดความกังวลและสับสนในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเป็นอย่างมาก หลายคนไม่แน่ใจว่า การกดไลค์หรือ”ถูกใจ”ของตนนั้นจะถือว่าเป็นความผิดไปด้วยหรือไม่ วันนี้ Zcooby จะหาคำตอบมาชี้แจงให้ทราบ

การกดไลค์ภาพ/ข้อความที่ผิดกฎหมาย ไม่ถือว่าทำผิดกฎหมาย

ในส่วนของอาจารย์ด้านนิติศาสตร์ อย่างผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

การกดไลค์ข้อความ หรือภาพ ที่ผิดกฎหมาย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้น ไม่ใช่การกระทำตามหลักของกฎหมาย เนื่องจาก

  • กฎหมายไม่ได้ระบุรองรับเอาไว้
  • การกดไลค์เพียงลำพัง ยังไม่อาจส่อถึงเจตนาได้ จึงไม่สามารถเข้าข่ายเป็นการทำความผิด

และมองว่า การถือว่า การกดไลค์ข้อความหรือภาพที่ผิดกฎหมายเป็นความผิดนั้น เป็นการตีความที่เกินตัวบทของผู้ปฏิบัติ

ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับการกดไลค์หรือกดถูกใจ

แม้ว่าโดยหลักแล้ว การกดไลค์ข้อมูลที่ผิดกฎหมายนั้นจะยังไม่มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และกฎหมายไม่ได้ระบุรองรับไว้ แต่ทางเพจ สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ (https://www.facebook.com/srisungadvocate/posts/432340670254030) ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ครับ

 

 

แต่อย่างไรก็ดี การกดไลค์ข้อมูลใดๆนั้น ย่อมเป็นการเผยแพร่ข้อมูลนั้นไปในตัว

เพราะข้อมูลที่ผู้กดไลค์ไปกดไลค์นั้นจะไปปรากฏในหน้าฟีดข่าวของเพื่อนๆในเฟซบุ๊คของผู้กดไลค์โดยอัตโนมัติ

ถึงแม้ผู้กดไลค์จะไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะให้ข้อมูลดังกล่าวไปปรากฏต่อเพื่อนคนอื่นๆของตนก็ตาม

แต่หากผู้กดไลค์เป็นผู้ใช้เฟซบุคมาเป็นเวลานานพอสมควร ย่อมทราบดีว่าข้อมูลที่ตนเองกดไลค์นั้นจะไปปรากฎในฟีดข่าวของเพื่อนของตนเองในเฟซบุ๊คโดยอัตโนมัติดังนั้น ผู้กดไลค์ข้อมูลต้องห้ามตามกฎหมายย่อมมีความผิดฐานเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลโดยเจตนาเล็งเห็นผล

บทสรุปเรื่องการกดไลค์ผิดหรือไม่?

ดังนั้นการกดไลค์จะเป็นความผิดหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า

“ผู้กดไลค์ทราบหรือไม่ว่า ข้อมูลที่ตนเองกดไลค์จะไปปรากฎในฟีดข่าวของเพื่อนๆตนเองในเฟซบุ๊ค”

  • หากผู้กดไลค์ทราบย่อมถือว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยเล็งเห็นผล
  • แต่ในทางกลับกันหากผู้กดไลค์ไม่ทราบ เช่นเป็นบุคคลสูงอายุ เพิ่งหัดเล่นเฟซบุค ไม่อาจรู้ได้ว่าข้อมูลที่ตนเองกดไลค์นั้น จะไปปรากฏเผยแพร่ให้กับเพื่อนของตนเองในเฟซบุคได้ ย่อมถือผู้กดไลค์ไม่มีความผิด เนื่องจากขาดเจตนากระทำผิด

อย่างไรก็ดี ระมัดระวังในการกดถูกใจข้อมูลข่าวสารบนหน้าฟีดของท่านสักนิดนะครับ 🙂

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.