KYC คืออะไร? รู้จักระบบการยืนยันตัวเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล #KYC

ในปัจจุบันนี้ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ใช้บริการหรือธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตหรือที่สถาบันการเงิน อาจจะเริ่มเห็นหรือได้ยินคำว่า KYC ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า มันคืออะไร? เราจำเป็นต้องทำ KYC หรือไม่? มีประโยชน์แก่เราอย่างไร?

KYC – Know Your Customer

KYC คืออะไร?

KYC เป็นตัวย่อที่มาจากคำว่า Know Your Customer คือ “กระบวนการในการทําความรู้จักลูกค้า” ที่สามารถ ระบุตัวตนและพิสูจน์ตัวตนได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) เพื่อการยืนยันตัวตนของลูกค้า สร้างความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูล รวมถึงการแอบอ้างตัวตน

ระบบการยืนยันตัวตน (KYC) ถือเป็นข้อบังคับในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ของสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) เรื่อง แนวทางในการระบุตัวตนและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า และการระบุพิสูจน์ทราบตัวตนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง มาใช้ในขั้นตอนการทําธุรกรรมที่อาจมีความเสียง ซึงได้ประกาศเมื่อ 28 มกราคม 2564 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที 26 กันยายน 2564 เป็นต้นไป


ประโยชน์ของ KYC

  • ช่วยสร้างความปลอดภัยและลดความเสี่ยงทั้งต่อเจ้าของข้อมูลผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
  • สามารถป้องกันการแอบอ้างตัวตน ลดการกระทําที่ผิดกฎหมาย
  • ช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงบริการหรือธุรกรรมได้อย่างครบถ้วน รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามบริการหรือธุรกรรมได้อย่างถูกต้อง

บริษัทไหนต้องทำ KYC ให้กับลูกค้าของตนบ้าง?

เนื่องจาก KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งกฎหมายบังคับให้หน่วยงานดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องทํา KYC ให้กับลูกค้า ได้แก่

  • ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร
  • ผู้ให้บริการ e-Wallet และ e-Payment
  • บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ทีอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ ก.ล.ต
  • บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

กระบวนการการทำ KYC

กระบวนการในการทํา KYC นั้น สามารถทําได้ทังการทําผ่านระบบ Offline และผ่านระบบ Online ทีเรียกว่า e-KYC โดยเป็นการเก็บข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่

  • ชื่อ-นามสกุล
  • เลขประจําตัวประชาชน
  • วันเดือนปีเกิด
  • ที่อยู่
  • หมายเลขโทรศัพท์ หรืออีเมลติดต่อ

ส่วนเอกสาร หรือหลักฐานยืนยันตัวตน ได้แก่ บัตรประจําตัวประชาชน /หนังสือเดินทาง (Passport)

ซึ่งลูกค้าจะต้องแสดงหลักฐาน และผ่านการระบุตัวตน และพิสูจน์ทราบตัวตนลูกค้า รวมถึงกระบวนการ CDD *

*เพิ่มเติม – CDD ย่อมาจากคําว่า Customer Due Diligence เป็นการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า โดยมีกระบวนการประเมินและบริหารความเสี่ยง ก่อนอนุมัติรับลูกค้าและติดตามความเคลื่อนไหวทางการเงินจากการทำธุรกรรมของลูกค้า เพือป้องกันการใช้เปนช่องทางในการกระทําผิดกฎหมาย


Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.