คีตามีน คืออะไร? รู้จักยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ตัวล่าสุด

หลังจากที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง หัวหน้าคสช. อาศัยอํานาจรัฐธรรมนูญประกอบกับ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญปี 2557 ให้เพิ่มวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ได้แก่ “คีตามีน” เป็นยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ ทำให้หลายคนสงสัยว่า คีตามีน คืออะไร? วันนี้ Zcooby จะพาให้คุณรู้จักอันตรายของสารเสพติดตัวนี้ครับ

คีตามีน คืออะไร?

คีตามีน (Ketamine) หรือ เคตามีน หรือ ยาเค ที่หลายคนอาจะเคยได้ยินชื่อบ้าง เป็นตัวเดียวกันครับ

ยาตัวนี้ มีชื่อทางการค้าคือ เคตาลาร์ (Ketalar) และเป็นยาสามัญในกลุ่ม NMDA (N-Methyl-D-aspartic acid หรือ N-Methyl-D-aspartate, สารที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมอง)

ผู้รับยานี้จะไม่สลบแต่จะมีอาการไร้ความรู้สึกและอยู่ในภวังค์ มีฤทธิระงับปวด, ระงับประสาท และทำให้สูญเสียความทรงจำ

โดยในทางการแพทย์ ยานี้สามารถใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังและยังอาจถูกใช้เป็นยาระงับประสาทในผู้ป่วยหนัก ยานี้ยังช่วยให้ระบบหายใจและหัวใจทำงานอย่างคล่องตัวขึ้น หรือสามารถ ใช้บำบัดอาการซึมเศร้าในโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar depression)

การรับเคตามีสามารถรับยานี้ได้โดยรับประทาน, สูดดม, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หากฉีดเข้าหลอดเลือดจะออกฤทธิใน 5 นาทีและจะคงฤทธิไปราว 25 นาที

ผลข้างเคียงจากการใช้เคตามีน

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้แก่ ปฏิกิริยาทางจิตเมื่อยาหมดฤทธิ ปฏิกิริยาเหล่านี้ได้แก่ ภาวะอยู่ไม่สุข, สับสน
  • อาจเกิดอาการประสาทหลอน
  • ส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง(โดยมากจะความดันเพิ่มขึ้น)
  • กล้ามเนื้อสั่น
  • อาจก่อให้เกิดอาการหลอดลมหดตัวเฉียบพลัน
  • ยานี้อาจก่อให้เกิดการเสพติด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผู้รับยาเป็นโรคจิตเภท

อันตรายจากการเสพเคตามีน

การเสพเคตามีน หรือ ยาเคเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้เสพทนต่อฤทธิ์ยา ทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึงจะออกฤทธิ์เท่าเดิม ทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะการใช้ยาเคในขนาดที่สูง จะทำให้เกิดการอาเจียน ชัก สมองและกล้ามเนื้อขาดออกซิเจนได้ การใช้ยาเคในขนาดที่สูงถึง 1 กรัมอาจทำให้ตายได้ นอกจากนี้การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการติดยาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

**********************************

คีตามีน เป็นยาในกลุ่มยาสลบ ซึ่ง ก่อนหน้านี้ เคตามีน มีสถานะเป็นยาสามัญ ยานี้สามารถใช้เป็นยาเสพติดเพื่อผ่อนคลาย ดังนั้นในประเทศไทยจึงจัดเป็นยาควบคุมพิเศษตามพระราชบัญญัติยา ก่อนที่จะมีการประกาศให้ถือว่า เคตามีน เป็นยาเสพติด เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา เนื่องจากมีวัยรุ่นส่วนหนึ่ง  การนำเคตามีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทมาใช้ในการเสพกันเป็นวงกว้าง

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.