กาบัดดี (Kabaddi) คืออะไร? รู้จักกีฬาชื่อแปลกในเอเชียนเกมส์

ชื่อของกาบัดดี (Kabaddi) อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูของคนไทย หลังจากมีข่าว “ทีมกาบัดดีสาวไทย พ่าย อินเดีย ไปในเกมนัดที่ 2 ของศึกเอเชียนเกมส์ 2018” ทาง Zcooby ขอแนะนำกีฬาชื่อแปลกนี้ให้ทราบกันครับ

กาบัดดี (Kabaddi) คืออะไร?

กาบัดดี (Kabaddi)  (มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น Kaudi, Pakaada, Hadudu, Bhavatik, Saadukuda, Hu-Tu-Tu, Himoshika, sadugudu) เป็นกีฬาประจำชาติของบังคลาเทศ ได้รับความนิยมในแถบเอเชียใต้ มีต้นกำเนิดกว่า 4,000 ปีแล้ว หากจะให้นึกถึงการละเล่นแบบไทย ก็น่าจะเหมือนกับ “ตี่จับ” นั่นเองครับ

กาบัดดี้ ถูกบรรจุให้จัดการแข่งขันระดับเอเชียนเป็นครั้งแรก ในมหกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี ค.ศ.1990 โดยครั้งแรกนั้นมี 6 ชาติส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันคือ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน และเนปาล แต่เนื่องจากเป็นกีฬาใหม่คนจึงไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก

วิธีการเล่น กาบัดดี

  • โดยปกติแล้ว จะมีการแบ่งเป็นประเภทชาย (น้ำหนักไม่เกิน 80 กิโลกรัม) และประเภทหญิง (น้ำหนักไม่เกิน 70 กิโลกรัม)
  • ประเภทชายจะใช้สนามแข่งขนาด สนามแข่งขันประเภทชายจะกว้าง 10 เมตร ยาว 13 เมตร
  • ประเภทหญิงจะใช้สนามแข่งขนาด สนามแข่งขันประเภทชายจะกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร
  • เวลาการแข่งขัน แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ครึ่ง แข่งขันครึ่งละ 20 นาที พักครึ่งไม่เกิน 5 นาที
  • จำนวนผู้เล่น จะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 7 คน (มีผู้เล่นสำรองฝ่ายละ 5 คน รวมทั้งทีม 12 คน)

กติกา กาบัดดี

  • แต่ละฝ่ายจะผลัดกันเป็นฝ่ายรุก และฝ่ายรับ หากเป็นฝ่ายรุก ผู้เล่น 1 คนของฝ่ายรุกจะต้องเดินไปยังฝั่งตรงข้าม
  • ส่วนฝ่ายรับ 7 คนจะต้องยืนจับมือเรียงกันเป็นแถวไว้ คอยต้อนไม่ให้คนรุกกลับเข้าไปในแดนของตัวเอง หรือสามารถแตะเส้นกลางสนามได้
  • ฝ่ายผู้รุก หากเดินเลยเส้นกลางสนามไปแล้ว ต้องเปล่งเสียง “กาบัดดี” ตลอดช่วงการหายใจครั้งเดียว และต้องพยายามแตะตัวฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งกลับไปแตะเส้นกลางสนามให้ได้
  • หากผู้เล่นฝ่ายรุกคนนั้นใช้เวลารุกนานกว่า 30 วินาที ไม่กลับแดนของตัวเอง ฝ่ายรับจะได้คะแนนทางเทคนิค 1 คะแนนทันที
  • หากผู้รุกถูกฝ่ายรับจับ หรือหยุดเปล่งเสียงกาบัดดี้ ผู้รุกคนนั้นจะต้องออกจากสนามมานั่งพัก ให้ผู้รุกคนอื่นเล่นต่อไป โดยสลับเป็นฝ่ายรับบ้าง ส่วนฝ่ายรับหากเล่นอันตราย หรือทำผิดกติกาก็จะถูกให้ออกจากการแข่งขันเช่นกัน
  • ผู้เล่นจะกลับเข้ามาเล่นได้ใหม่ ก็ต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามถูกประกาศให้ออกจากการแข่งขัน โดยจะกลับเข้ามาได้ในจำนวนที่เท่ากับฝ่ายตรงข้ามถูกให้ออก
  • หากเป็นการแข่งขันในช่วงต่อเวลาพิเศษเพื่อหาผู้ชนะ จะไม่มีการให้ผู้เล่นกลับเข้ามาในสนามได้
  • แต่หากทีมใดเหลือผู้เล่นในสนาม 1 หรือ 2 คน ผู้ฝึกสอนสามารถแจ้งกรรมการขอเอาผู้เล่นออก เพื่อจะเริ่มเกมใหม่ 7 คนได้ โดยทีมนั้นจะเสียคะแนน 1 คะแนนต่อผู้เล่น 1 คน และต้องเสียคะแนนล้างทีมอีก 2 คะแนน เพื่อเริ่มเกมใหม่

การได้คะแนนกาบัดดี

  • หากฝ่ายรับจับผู้รุกไว้ได้ในแดนของฝ่ายรับ จะได้รับ 1 คะแนน
  • ผู้รุกที่รุกโดยไม่ผิดกติกา และทำให้ฝ่ายรับออกจากการเล่นได้ จะได้ 1 คะแนน
  • ผู้รุกสามารถข้ามเส้นคะแนนพิเศษ (Bonus Line) จะได้ 1 คะแนน
  • ผู้รุกสามารถข้ามเส้นคะแนนพิเศษ (Bonus Line) โดยไม่ได้สัมผัสหรือต่อสู้กับฝ่ายรับจะได้ทันที 1 คะแนน
  • หากทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามถูกประกาศออกจากสนามจนหมดจะได้ 2 คะแนน
  • เมื่อทีมทำให้ผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามทั้งหมดถูกประกาศให้ออก และไม่มีผู้เล่นคนใดในทีมกลับมาเล่นใหม่ได้ ทีมนั้นก็จะได้คะแนนล้างทีม (Lona) 2 คะแนน

ลองชมคลิปการแข่งขันระหว่าง อินเดีย-ญี่ปุ่น ในเอเชียนเกมส์ 2018 ตามคลิปด้านล่างนี้ครับ

https://youtu.be/POIixV33jSI

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.