สำหรับผู้ที่ได้มีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง Joker ได้พบว่าตัวพระเอกคือ อาเธอร์ เฟล็กส์ หรือ Joker มักจะมีอาการหัวเราะที่ไม่สามารถหยุดได้ จนเป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมในเรื่องนี้ ทำให้หลายคนสงสัยว่า โรคหัวเราะไม่หยุดนี้มีอยู่จริงหรือไม่? วันนี้ Zcooby หาคำตอบมาแนะนำให้ทราบครับ
หยุดหัวเราะไม่ได้ เป็นโรคอะไร? มีโรคนี้อยู่จริงหรือไม่?
อาการแบบนี้มีอยู่จริง มีชื่อทางการแพทย์ว่า Pseudobulbar Affect (อ่านว่า ซูโดบัลบาร์ เอฟเฟ็คท์ หรือเรียกย่อๆ ว่า PBA) เป็นอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมีอาจมีอาการร้องไห้ หรือหัวเราะออกมาโดยไม่สามารถควบคุมอาการเหล่านี้ได้
ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการแสดงอารมณ์ออกมาในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการแสดงอารมณ์ของตัวเองได้ เช่น หัวเราะให้กับเรื่องเศร้า ร้องไห้ให้กับเรื่องตลก หัวเราะ หรือร้องไห้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีเรื่องน่าขำ หรือเรื่องน่าเศร้าโดยที่ภายในใจอาจตรงข้ามกับการกระทำที่แสดงออกไป จึงทำให้ดูเหมือนเป็นคนแปลกแยกในสังคม และอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้
รวมถึงการแสดงอารมณ์ที่มากเกินกว่าที่คนปกติทั่วไปทำกัน และการเปลี่ยนอารมณ์จากร้องไห้ไปหัวเราะ หรือหัวเราะอยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ได้เช่นกัน
นอกเหนือจากนี้ยังอาจพบอาการอื่น ๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อบนใบหน้าอ่อนแรงจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะบนใบหน้าได้ เช่ มีอาการน้ำลายไหล แลบลิ้นไม่ได้ สำลักอาหาร เป็นต้น
สาเหตุของอาการ
อาจเกิดขึ้นจากการถูกกระทบกระเทือนทางสมองจากอุบัติเหตุ และความผิดปกติของประสาทในสมองที่อาจเป็นผลข้างเคียงจากโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก เนื้องอก ติดเชื้อในสมอง โรคที่เกี่ยวกับปลอกประสาท และอื่น ๆ
การรักษา
ปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา รวมถึงการควบคุมโรคที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดให้ดี เช่น อาการของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนถึงสมอง
Be the first to comment