ภาษีมรดกฉบับล่าสุด รับมรดกเกินร้อยล้าน เสียภาษี (เริ่มบังคับใช้ 1 กุมภาพันธ์ 2559)

1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันที่เริ่มบังคับใช้ พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มีเนื้อหาที่น่าสนใจว่า “ผู้รับมรดกได้รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี” วันนี้ทาง Zcooby ขอนำข้อมูลเรื่องนี้มาแจ้งให้ทราบครับ

สาระสำคัญที่น่าสนใจในภาษีการรับมรดกกำหนดให้ผู้รับมรดกต้องจ่ายภาษีดังนี้ครับ

  1. ในส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาทในอัตรา 10%
  2. แต่ถ้าเป็นการรับมรดกจากบุพการี หรือผู้สืบสันดาน จะเสียในอัตรา 5%
  3. นอกจากนี้ ยังประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีการรับให้ควบคู่กัน เพื่ออุดช่องว่าง กรณีการให้โดยเสน่หา ที่ปัจจุบันไม่ต้องเสียภาษี

โดยการรับให้แบ่งเป็น การให้ก่อนตาย และการให้หลังตาย ดังนี้ครับ

  1. การให้ก่อนตาย
  • ฝั่งคนรับให้ถือว่ามีเงินได้ต้องเสียภาษี หากมีการโอนทรัพย์สมบัติให้ก่อนผู้ให้จะเสียชีวิตจะเข้าข่ายเป็นภาษีการรับให้
  • ต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาทในอัตรา 5%
  • หากเป็นกรณีบุพการีให้ผู้สืบสันดานกำหนดให้จ่ายภาษีส่วนที่เกิน 20 ล้านในอัตรา 5%    
  • คนรับให้กรณีที่ไม่ต้องเสียมีกฎหมายยกเว้นให้เฉพาะบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นการรับให้โดยเสน่ห์หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาส ประเพณี เช่น เงินใส่ซองที่ให้ในงานแต่งงาน
  • อีกกรณีหนึ่งคนรับให้โดยหน้าที่อุปการะ เช่น พ่อแม่ให้ลูก สามีให้ภริยา

2. การให้หลังตาย

  • ถ้าเจ้ามรดกเสียชีวิตตั้งแต่ 1 ก.พ. 2559 และผู้รับมรดกได้รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี 5 %  (ภาษีมรดกจะเก็บจากคนรับ)

ระยะการยื่นสำแดงภาษีและทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี

“ผู้รับมรดกจะต้องยื่นสำแดงภาษีภายใน 150 วันหลังจากที่รับมรดก ส่วนทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมี 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  1. บ้าน และที่ดิน
  2. เงินฝากธนาคาร
  3. หุ้นและหุ้นกู้
  4. รถยนต์
  5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา

 

ตารางการเสียภาษีมรดกหลังวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป

ประเภทเงินรับให้ ภาระภาษีของผู้รับให้
1.การให้ก่อนตาย 1.1 การรับให้โดยหน้าที่อุปการะที่มีจำนวนเงินเกิน 20 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนเกิน 20 ล้านจะเสียภาษี 5 เปอร์เซ็นต์  เช่น สามีซื้อรถให้ภริยา มูลค่าเกิน 20 ล้านส่วนที่เกิน 20ล้านต้องเสียภาษี 5% หรือบุพการีให้ผู้สืบสันดาน เช่น บิดาให้ลูก มารดาให้ลูก  เป็นต้น
1.2การรับให้จากเงินช่วยงาน  ที่มีจำนวนเงินเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป การให้เนื่องในพิธีหรือตามโอกาส ถ้าเกิน 10 ล้านต้องเสียภาษี 5 %  เช่นเงินซองที่ได้รับในวันแต่งงาน ถ้าแต่งหลังวันที่1 ก.พ. 2559 แล้วได้รับเงินเกิน 10ล้าน ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทต้องเสียภาษี 5%
2.การให้หลังตาย 2.1 ถ้าเจ้ามรดกเสียชีวิตตั้งแต่ 1 ก.พ. 2559 และผู้รับมรดกได้รับมรดกเกิน 100 ล้าน ถ้าเจ้ามรดกเสียชีวิตตั้งแต่ 1 ก.พ. 2559 และผู้รับมรดกได้รับมรดกเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษี 5 %

 

 

หากคุณต้องการทราบเนื้อหาของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ

ดาวน์โหลด พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.