หลังจากที่มีข่าว นักศึกษาปี 2 ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ ประดิษฐ์ประทัดยักษ์เตรียมใช้รับน้อง เกิดระเบิดคาบ้านพัก ส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนมือซ้ายขาดและมีบาดแผลขนาดใหญ่ที่ขา ทำให้ผมนึกถึงเรื่องของความอันตรายเรื่องของ “ประทัดยักษ์” ขึ้นมา เลยอยากจะขอแชร์ความน่ากลัวของเล่นชิ้นนี้ครับ
ประทัดยักษ์ คืออะไร?
ประทัดยักษ์ เป็นประทัดขนาดใหญ่ถือว่าเป็นอาวุธอันตรายมีขนาดใหญ่เกิน 10 ซม. ขึ้นไปอาจห่อกระดาษหรือใส่ในท่อพีวีซี มีลักษณะคล้ายไดนาไมต์แต่อานุภาพน้อยกว่า มีอันตรายต่อใบหูรวมถึงโสตประสาทและอาจอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันมักเป็นอาวุธหรือนำมาใช้ก่อความวุ่นวาย
ลักษณะของประทัดยักษ์ที่คนส่วนใหญ่คุ้น มักจะทำมาจาท่อ PVC มา ตัดเป็นท่อนๆ ล่ะประมาณ 2นิ้ว และเอาดินปืน หรือเรียกอีกอย่างว่าดินเทา เทลงไป 1 ส่วนสาม ของท่อ ปิดปลายท่อทั้งสองด้าน เจาะรูเพื่อใส่สายชนวน และพันด้วยเทปกาวให้แน่น
วิธีการป้องกันอันตรายจากประทัดยักษ์
แม้ใครหลายคนจะมองว่ามันคือของเล่น แต่ด้วยสภาพของตัวมันแล้ว ถือว่าเป็น “วัตถุระเบิด” ที่สร้างความเสียหายแก่ร่างกาย ทรัพย์สินได้ เราจึงขอแนะนำวิธีการป้องกันอันตรายจากประทัดยักษ์นะครับ
- คุณไม่ควรซื้อหรือให้บุตรหลานซื้อประทัดยักษ์มาเล่นเป็นอันขาด
- หากพบกลุ่มคนที่เล่นประทัดยักษ์ ให้หลีกเลี่ยงออกห่างให้ไกลที่สุด เพราะเราไม่สามารถทราบถึงรัศมีการระเบิดของประทัดยักษ์แค่ละลูกได้
- หากไม่สามารถห้ามลูกหลานให้เข้าไปใกล้หรือเกี่ยวข้องกลุ่มคนที่เล่นพลุหรือประทัดยักษ์ได้ ให้เด็กๆ ระวังบรรดาพลุ ดอกไม้ไฟ หรือประทัดที่จุดแล้วด้าน…แล้วจุดใหม่อีกครั้ง เพราะเรามักจะพบว่า การจุดซ้ำอีกครั้ง มันอาจจะระเบิดได้อย่างคาดไม่ถึง…
- ผู้ที่เล่นพลุหรือประทัดยักษ์ ก่อนที่จะจุด ควรที่จะมองดูรอบข้างให้ดี ต้องมั่นใจว่าไม่มีผู้ใดอยู่ในบริเวณนั้น โปรดช่วยกันเอาใจใส่ความปลอดภัยของผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มักจะชอบมามุงดู
- ห้ามจุดพลุและดอกไม้ไฟในบริเวณที่ มีลมแรง,อยู่ใกล้สายไฟ,ใกล้สถานีน้ำมัน,ใกล้ถังแก๊ส หรือแม้แต่ในอาคารบ้านเรือน เพราะอาจจะทำให้เกิดระเบิดและไฟไหม้และยากที่จะควบคุมได้
- อย่าให้เด็กๆ เก็บพลุหรือประทัดยักษ์ไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกง เพราะอาจเกิดการเสียดสีกันซ้ำๆ ก็อาจจะระเบิดขึ้นได้
- เตรียมเครื่องดับเพลิงหรือเตรียมถังใส่น้ำไว้ให้เต็มปริ่มหรือทรายไว้ใกล้ๆ จุดที่จะเล่นพลุหรือประทัดยักษ์ เพราะหากเกิดเพลิงไหม้จะได้สามารถดับทัน
- เด็กที่เล่นพลุหรือดอกไม้ไฟ ควรมีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ใกล้ เพื่อป้องกันเหตุอันตรายที่เกิดจากความคะนอง ความประมาท
- อย่าจุดประทัดหรือดอกไม้ไฟโดยวางไว้ติดกับร่างกาย เช่น หัว บนฝ่ามือ หรือร่างกายส่วนต่างๆ หรือจุดใส่ภาชนะที่แตกง่าย เช่นแก้ว ถัง กาละมัง
- เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ทำความสะอาด เก็บเศษดอกไม้ไฟและดับประกายไฟให้หมด ตรวจสอบว่าเศษซากพลุมีส่วนไหนติดไฟอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้น
- กรณีพบเห็นเหตุสาธารณภัยต่างๆ สามารถแจ้งเหตุได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วน หรือ โทรศัพท์แจ้งหน่วยกู้ชีพนเรนทร หมายเลข 1669 ฟรีทุกระบบ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Be the first to comment