รู้หรือไม่? ตอนนี้ ทางธนาคารประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมมือกับทางธนาคารเอกชน เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการเงินฝากให้ได้ในโครงการที่ชื่อว่า “บัญชีเงินฝากพื้นฐาน” หลายคนอาจจะสงสัยว่า มันคืออะไร? วันนี้ Zcooby ขอนำข้อมูลเรื่องนี้มาแนะนำ พร้อมทั้งวิธีการเปิดบัญชีธนาคารฟรี สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
โดยที่ผ่านมาทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ พบว่าการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือน ปี 2559 มีคนกว่า 30% เข้าไม่ถึงและไม่ได้ใช้บริการเงินฝาก จึงต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการการเงินได้สะดวกด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า จึงเกิดความร่วมมือการให้บริการบัญชีเงินฝากเพื่อการเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน หรือบัญชีเงินฝากพื้นฐาน เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยไม่มีต้นทุนหรือภาระ จากการเปิดบัญชีธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน
“บัญชีเงินฝากพื้นฐาน” คืออะไร?
บัญชีเงินฝากพื้นฐาน ก็คือบัญชีธนาคารปกติ แต่มีจุดเด่นก็คือ
- ไม่กำหนดวงเงินขั้นต่ำในการเปิดและเงินคงเหลือในบัญชี
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีในการฝาก-ถอน-โอน
- ฟรีค่าแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต
- ฟรีค่ารักษาบัญชี
- มีธนาคารพาณิชย์ 14 แห่งที่ร่วมให้บริการเปิดบัญชีพื้นฐาน รวมถึงธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ใครที่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากพื้นฐานได้บ้าง?
- คนไทยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
มีธนาคารใดบ้างที่เข้าร่วมโครงการ “บัญชีเงินฝากพื้นฐาน”
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารเกียรตินาคิน
- ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคารทิสโก้
- ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารธนชาต
- ธนาคารยูโอบี
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
- ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“บัญชีเงินฝากพื้นฐาน” เริ่มสมัครได้ตั้งแต่เมื่อไหร่?
สำหรับผู้ที่ต้องการเปิด “บัญชีเงินฝากพื้นฐาน” สามารถเริ่มติดต่อกับทางธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นไป
เอกสารสำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากพื้นฐาน
- บัตรประชาชนตัวจริง
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐตัวจริง (สำหรับผู้ใช้สิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ)
Be the first to comment