ฟอสซิล ลูซี่ เป็นคำค้นหาที่ผู้ใช้งาน Google ได้เห็นในหน้าแรกวันนี้ (24 พฤศจิกายน 2558) หลายคนอาจจะสงสัยว่า ฟอสซิล ลูซี่ คืออะไร? Zcooby จะมาตอบข้อสงสัย พร้อมเล่า ประวัติความเป็นมาของการค้นพบฟอสซิล ลูซี่
ฟอสซิล ลูซี่ คืออะไร?
เป็นซากฟอสซิล ของออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (Australopithecus afarensis) มีชีวิตอยู่ในช่วง 3-3.9 ล้านปีก่อน
สาเหตุที่ฟอสซิล ลูซี่ ได้รับความสนใจ เนื่องจากซากฟอสซิลของลูซี่ ที่มีสภาพสมบูรณ์เกือบ 40% ช่วยให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ บรรพบุรุษของมนุษย์ ในสมัยนั้น
วันนี้ (24 พฤศจิกายน 2558) เป็นวันครบรอบ 41 ปี การค้นพบลูซี่ครับ
ซึ่งชื่อ “ลูซี่” นั้น มีที่มาจากเพลง “ลูซี่ย์ อิน เดอะ สกาย วิธ ไดมอนด์” ของเดอะบีทเทิลส์ ซึ่งคณะผู้ค้นพบฟอสซิลเปิดฟังขณะจัดงานเลี้ยงฉลองความสำเร็จ
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบฟอสซิล ลูซี่
ย้อนกลับไปปี 2517 ดร.โดนัลด์ โจฮันสัน นักวิทยาศาสตร์สหรัฐ และคณะ ร่วมกันขุดพบฟอสซิลลูซี่ย์ ในเขตฮาดาร์ของเอธิโอเปีย ซึ่งห่างจากจุดที่ทีมของเซเรเซเนย์พบ ซีแลม เพียง 4 กิโลเมตรเศษ
การค้นพบกระดูกลูซี่ย์ ซึ่งเป็นมนุษย์โบราณกลุ่ม “โฮมินิด” ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานพิสูจน์ว่า บรรพบุรุษมนุษย์เดิน 2 ขา แยกสายพันธุ์ออกจากกันอย่างชัดเจนจากลิงวานรและสัตว์คล้ายมนุษย์พวก “โอมินอยด์”
โดยลูซี่ (Lucy) เป็นซากฟอสซิล ของออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (Australopithecus afarensis) มีชีวิตอยู่ในช่วง 3-3.9 ล้านปีก่อน ซากฟอสซิล ของลูซี่ ที่สมบูรณ์เกือบ 40% ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ บรรพบุรุษของมนุษย์ ในสมัยนั้น
ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิสมีความสูงประมาณ 107-152 cm โดยเพศชาย มีขนาด ร่างกาย ใหญ่กว่าเพศหญิงมาก (sexual dimorphism ลักษณะแบบนี้ ยังพบได้ในกอริลล่า)
ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส มีช่วงแขนที่ยาว เกือบจะเท่ากับ ชิมแปนซี มีมือที่ ไม่สามารถกำได้แบบพวกเรา ฟอสซิลกระดูกเชิงกราน และเข่าที่พบ มีลักษณะ เหมือนมนุษย์ปัจจุบัน แสดงว่าสามารถเดิน 2 ขาได้
มีการค้นพบ รอยเท้าเดิน 2 ขา แบบมนุษย์ ปรากฎอยู่บน หินภูเขาไฟ อายุ 3ล้าน 6 แสนปี ที่เลโตลิ (Laetoli) ประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษของมนุษย์ สามารถเดิน 2 ขาได้ เป็นเวลา อย่างน้อย 3ล้าน 6 แสนปี มาแล้ว จากช่วงอายุ เป็นไปได้มากว่า เป็นรอยเท้าของ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส
ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส มีขนาดสมอง พอๆกับลิงชิมแปนซี หน้าตาก็คล้ายๆชิมแปนซี ยกเว้นฟันที่ มีลักษณะ อยู่กึ่งกลาง ระหว่างชิมแปนซี กับมนุษย์ปัจจุบัน ลักษณะเขี้ยวที่สั้นคาดว่า อฟาร์เอนซิส อาจไม่จำเป็นต้องใช้ เขี้ยวต่อสู้กับเพศชายด้วยกัน เพื่อครองความเป็นใหญ่ ในฝูง (ยังคงพบได้ในกอริลล่า)
Be the first to comment