Favipiravir (ฟาวิพิราเวียร์) คืออะไร? รู้จักยาต้านไวรัส COVID-19 ในชื่อ “Avigan” #favipiravir #Avigan

หลังจากที่มีข่าวเรื่องการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก ชื่อของ ก็ถือพูดถึงเป็นอย่างมากในฐานะของยาต้านไวรัส COVID-19 ทาง Zcooby ขอแนะนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับยาตัวนี้

Favipiravir คืออะไร?

ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) หรือที่รู้จักกันในชื่อ T-705 หรือ Avigan มีฤทธิ์ต่อต้านอาร์เอ็นเอไวรัสหลายชนิด

Favipiravir เป็นยาต้านไวรัสที่พัฒนาโดยบริษัทโตยามะเคมิคอล (富山化学工業) ของประเทศญี่ปุ่น

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้รับการศึกษาแบบสุ่มในประเทศจีนเพื่อทำการทดลองรักษาโรค COVID-19 (โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019) ที่พึ่งอุบัติขึ้น

ฟาวิพิราเวียร์ ได้รับการรับรองระยะสั้นเป็นเวลาห้าปี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ในฐานะยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพต่อต้านโรค COVID-19 และในตอนนี้ได้ผลิตในประเทศจีนภายใต้ชื่อ ฟาวิลาเวียร์ (Favilavir) เช่นเดียวกับยาต้านไวรัสทดลองอื่น ๆ (T-1105 และ T-1106)


ประวัติความเป็นมาของ ฟาวิพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์นี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย ยูซูเกะ ฟูรูตะ ในห้องทดลองโทยามาเคมีคอล ของฟูจิฟิล์มฯ ในปี 1998 โดยยานี้จะไปยับยั้งเอนไซม์พอลิเมอเรส ซึ่งทำหน้าที่สร้างและจำลองตัวเองของสารพันธุกรรมไวรัส เพื่อหยุดการขยายตัวของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว

ในปี พ.ศ. 2557 ฟาวิพิราเวียร์ได้รับการอนุมัติในประเทศญี่ปุ่นสำหรับการสำรองยาต่อต้านการระบาดทั่วของโรคไข้หวัดใหญ่

อย่างไรก็ตาม ฟาวิพิราเวียร์ยังไม่ได้แสดงว่ามีประสิทธิภาพในเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจปฐมภูมิของมนุษย์ เป็นเหตุให้ยังมีความสงสัยในประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่


กลไกการออกฤทธิ์ของ ฟาวิพิราเวียร์

กลไกการออกฤทธิ์นั้นเชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการคัดเลือกเอนไซม์ อาร์เอ็นเอโพลิเมอเรสที่ขึ้นกับอาร์เอ็นเอของไวรัส (RNA-dependent RNA polymerase)

งานวิจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า ฟาวิพิราเวียร์ ชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในอาร์เอ็นเอที่ทำให้เกิดการตาย ซึ่งผลทำให้ฟีโนไทป์ของไวรัสไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้

ฟาวิพิราเวียร์ เป็นโปร-ดรัก (prodrug) ที่ถูกกระบวนการเมตาบอลิซึมเผาผลาญไปเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์คือ Favipiravir-ribofuranosyl-5′-triphosphate (Favipiravir-RTP) มีทั้งที่อยู่ในตำรับที่ให้โดยทางรับประทานและทางหลอดเลือดดำ เอ็นไซม์ Human hypoxanthine guanine phosphoribosyltransferase (HGPRT) เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในกระบวนการกระตุ้นการออกฤทธิ์นี้

ฟาวิพิราเวียร์ ไม่ยับยั้งการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอหรือดีเอ็นเอ ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม่เป็นพิษต่อเซลล์


การใช้ยา ฟาวิพิราเวียร์

โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่โดยขนาดการรับประทาน 1,600 มิลลิกรัม วันละสองครั้งในวันแรก และ 600 มิลลิกรัม วันละสองครั้งในวันที่ 2 ถึงวันที่ 5 ระยะเวลาการรักษาโดยรวมคือ 5 วัน

ด้วยยาเม็ดขนาด 200 มิลลิกรัม ดังนั้นจึงต้องรับประทาน (1600 x 2 + 600 x 2 x 4) มก. / 200 มก. = 40 เม็ดต่อคน ผลจากการได้รับยาในปริมาณสูงยังคงอยู่ระหว่างการศึกษา

ความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ ได้รับการยืนยันในการศึกษาในสัตว์ทดลอง และมีข้อห้ามใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่สงสัยว่าตั้งครรภ์ และควรคุมกำเนิดในช่วงเวลาระหว่างได้รับยาจนถึง 7 วันภายหลัง

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.