ไวรัสอีโบล่า คืออะไร? (อาการและวิธีการป้องกัน)

หลังจากที่มีข่าวชาวอเมริกันวัย 40 ปีพร้อมลูกวัยห้าขวบ เสียชีวิตที่ประเทศไนจีเรีย โดยแพทย์ได้ระบว่า ทั้งสองเสียชีวิตจาก “ไวรัสอีโบล่า” ทำให้เกิดความตื่นตระหนกถึงการแพร่ระบาดของไวรัสตัวนี้ Zcooby จึงอยากจะขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสอีโบล่า พร้อมทั้งลักษณะอาการและวิธีการป้องกันครับ

ไวรัสอีโบล่า คืออะไร?

โรคติดเชื้อจากไวรัสอีโบล่า (Ebola virus disease) หรือเรียกย่อๆ ว่า EVD แต่เดิมเรียกว่า  ไข้เลือดออกอีโบล่า เนื่องจากมีอาการสำคัญอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากตัวผู้ป่วยก็คือ เลือดออก โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสหนึ่งในโรคที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษย์ เนื่องจากอัตราการตายสูง โดยเมื่อเกิดระบาดเกิดขึ้น มักทำให้มีผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตถึง 90%

ต้นกำเนิดและการระบาดของไวรัสอีโบล่า

ไวรัสประเภทนี้มักจะมีต้นกำเนิดในประเทศทางตอนกลางและฝั่งตะวันตกที่เป็นเขตป่าฝนของทวีปแอฟริกา โดยเชื่อว่า ค้างคาวกินผลไม้ในสายพันธ์ Pteropodidae เป็นพาหะของโรคในธรรมชาติ ก่อนจะแพร่กระจายมายังลิง และคน

ลักษณะการติดต่อของไวรัส เริ่มต้นจากติดต่อจากสัตว์ ผ่านมายังคน หลังจากนั้น จะติดต่อจากคนมายังคนได้ ผ่านทางสารคัดหลั่ง หรือซากศพ จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง (เลือด อุจจาระ น้ำลาย เพศสัมพันธ์)

ไวรัสอีโบล่า มี 5 สปีชีส์

  • Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
  • Zaire ebolavirus (EBOV)
  • Reston ebolavirus (RESTV)
  • Sudan ebolavirus (SUDV)
  • Taï Forest ebolavirus (TAFV).

อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

ในระยะแรกจะมีอาการ เจ็บคอ, มีไข้, ปวดหัว, ปวดเมื่อย ปวดตามกล้ามเนื้อ

ระยะต่อมา จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น มีผื่น มีอาการท้องเสีย,อาเจียน

ท้ายสุด จะมีอาการ เลือดออกทาง จมูก ปาก ตา ทวาร และมีอาการตับวาย ไตวาย จนเสียชีวิตในที่สุด

แนวทางการป้องกันไวรัสอีโบล่า

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย
  3. เมื่อมีการพบผู้ติดเชื้อ ให้รีบทำการแยกผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด
  4. หากมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสนี้ ให้รีบทำการกำจัดซากศพโดยเร็ว
  5. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ให้สวมใส่ชุดป้องกันทุกครั้ง
  6. ทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสเชื่อทุกครั้ง

อยากให้ทุกท่านระมัดระวังและป้องกันตัวจากไวรัสอีโบล่ากันนะครับ

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.