หลังมีข่าวการพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาปี 65 ให้ 9 นักวิชาการ เมื่อวันที่ 21 เมษายรน 2566 ที่ผ่านมา หลายคนอาจจะสงสัยว่า เหรียญดุษฎีมาลา คือเหรียญอะไร มีแบบไหนบ้าง? และใครมีสิทธิ์จะได้รับเหรียญนี้บ้าง? วันนี้ทาง Zcooby ขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเหรียญนี้ครับ
เหรียญดุษฎีมาลา คืออะไร?
เหรียญดุษฎีมาลาเป็นเหรียญบำเหน็จในราชการฝ่ายพลเรือนชั้นสูงสุด โดยป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เหรียญแพรแถบ
เหรียญดุษฎีมาลา เป็นเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2425 อันเป็นมหามงคลสมัยครบรอบ 100 ปีที่หนึ่ง นับแต่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี และทรงตั้งราชวงศ์จักรียั่งยืนมานานจนถึงสมัยของพระองค์ท่าน
โดยลักษณะของเหรียญ เป็นแบบกลมรี ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ ใต้รูปมีอักษรโรมัน ด้านหลังมีรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ยืนพิงโล่ตราแผ่นดิน พระหัตถ์ขวาทรงพวงมาลัยจะสวมตรงชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทาน วัสดุของเหรียญทำจากทองคำกะไหล่ทองและเงิน ขนาดของเหรียญกว้าง 4.1 ซม. สูง 4.6 ซม. ปัจจุบันเหรียญชนิดนี้ยังไม่พ้นสมัยการพระราชทาน
ประวัติของเหรียญดุษฎีมาลา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญดุษฎีมาลา เมื่อ พ.ศ. 2425 เนื่องในโอกาสครบรอบการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมาเป็นเวลาครบ 100 ปี เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ทรงสร้าง “เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์” สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และทรงสร้าง “เหรียญดุษฎีมาลา” สำหรับพระราชทานเพื่อเป็นบำเหน็จแก่ผู้มีความชอบในราชการแผ่นดิน โดยแบ่งออกเป็น
- เข็มราชการในพระองค์ อักษรย่อ ร.ด.ม. (พ)
- เข็มศิลปวิทยา อักษรย่อ ร.ด.ม. (ศ)
- เข็มราชการแผ่นดิน อักษรย่อ ร.ด.ม. (ผ)
- เข็มกรุณา อักษรย่อ ร.ด.ม. (ก)
- เข็มกล้าหาญ อักษรย่อ ร.ด.ม. (ห)
ใครมีสิทธิ์ได้รับเหรียญนี้บ้าง?
โดยผู้สมควรได้รับเหรียญนี้ ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง และมอบเพื่อ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิในทางศิลปวิทยา อันได้แสดงให้ประจักษ์เป็นพิเศษแล้ว
หลักเกณฑ์การรับพระราชทาน เหรียญดุษฎีมาลา
ตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พ.ศ. 2521 ข้อ 5 กำหนดว่า “ผู้ซึ่งจะได้รับการพิจารณาขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา จะต้องมีผลงานประการใดประการหนึ่งดังต่อไปนี้”
- คิดค้นความรู้ระบบ กรรมวิธีหรือประดิษฐ์ สิ่งใหม่เป็นผลสำเร็จ
- ปรับปรุงความรู้ระบบ กรรมวิธี หรือสิ่งประดิษฐ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก
- ได้แสดงให้เป็นที่ปรากฏว่า มีฝีมือและชื่อเสียงยอดเยี่ยมในทางศิลปวิทยา
โดยคณะกรรมการจะได้พิจารณาผลงานของผู้ที่สมควรจะได้รับการพิจารณารับพระราชทานตามสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาร่วมกันดังนี้
- มนุษยศาสตร์
- ศึกษาศาสตร์
- วิจิตรศิลป์
- สังคมศาสตร์ (นิติศาสตร์ , รัฐศาสตร์ , เศรษฐศาสตร์ , พาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
- วิทยาศาสตร์
- วิศวกรรมศาสตร์
- แพทยศาสตร์
- เกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาอื่นตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
Be the first to comment