Cyberbullying คืออะไร? แนวทางการป้องกันการคุกคามทางอินเทอร์เน็ต

Cyberbullying อาจเป็นคำที่หลายคนอาจจะไม่รู้จักหรือคุ้นเคย แต่วันนี้ทาง Zcooby ขอแชร์เกี่ยวกับเรื่องราวของการคุกคามทางอินเทอร์เน็ตหรือ Cyberbullying มาฝากครับ

Cyberbullying คืออะไร?

bullying แปลว่า กลั่นแกล้ง

Cyberbullying เป็นการนำคำว่า Cyber + Bullying มารวมกัน หมายความถึงการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทางเพื่อก่อให้เกิดการคุกคาม ล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ โดยจุดมุ่งหมายจะเป็นกลุ่มเด็กจนถึงเด็กวัยรุ่น

รูปแบบของ Cyberbullying

  1. การโจมตี ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย
  2. การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์
  3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น
  4. การแบล็กเมล์
  5. การหลอกลวง
  6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ

 

 

สถิติที่น่าสนใจของ Cyberbully

  • 75% คือ อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของกลุ่มที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เด็กและเยาวชน อายุ 5 -28 ปี และใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง เกือบ 8 ชม.ต่อวัน (ที่มา ผลสำรวจจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)
  • 80% ของเด็กและเยาวชนไทย เจอภัยคุกคาม ล่อลวงและการกลั่นแกล้งโรงเรียนและบนโลกอินเทอร์เน็ต และเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย (ที่มา www.nobullying.com)
  • 28% ของเด็กไทย มองว่า Cyberbullying เป็นเรื่องปกติ
  • 39% ของเด็กไทย มองว่า Cyberbullying เป็นเรื่องสนุก
  • และกว่า 59% ของเด็กไทยบอกว่า “เคยเป็นส่วนหนึ่งใน Cyberbullying”

 

อาการของผู้ได้รับผลกระทบจาก Cyberbullying

  • มีอาการซึมเศร้า เครียด หรือมีความวิตกกังวล
  • กลายเป็นคนชอบเก็บตัว ไม่ค่อยพูดจา วัน ๆ เล่นแต่มือถือหรือแท็บเล็ต
  • ทำตัวห่างเหินจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อนที่โรงเรียน
  • ไม่อยากไปโรงเรียน แอบหนีเรียนบ่อย ๆ
  • การเรียนตกต่ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • เมื่อเจอคนพูดถึงเรื่องที่น่าอับอาย หรือสอบถามถึงสาเหตุของการไม่ไปโรงเรียน เด็กอาจมีอาการเครียด และแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น กรี๊ด ร้องไห้อย่างหนัก หรือสติหลุด

 

วิธีป้องกัน Cyberbullying

  1. อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี หากไม่รู้จักก็ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนนั้น
  2. ฝ่ายผู้ปกครอง ควรสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนที่ลูกคุยด้วย แชทด้วยเป็นใคร
  3. เก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าและคนที่ไม่สนิทสนม ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอย่างชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลส่วนตัว ไม่ควรนัดเจอกันส่วนตัวกับเพื่อนในโลกออนไลน์โดยเด็ดขาด

ในกรณีที่ถูกคุกคามแล้ว ควรทำดังนี้

  • ลบข้อความที่สร้างความเสียหายกับเรา
  • บล็อกคนที่กลั่นแกล้งเรา
  • พาตัวเองออกจากสังคมออนไลน์ไปสักระยะ

หมายเหตุ วัน ‘Stop Cyberbullying’ ซึ่งถือเอาวันศุกร์ที่สามของเดือนมิถุนายนเป็นวันรณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจและป้องกันไม่ให้เกิดผู้กระทำและสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อของ cyberbullying

 

Readers Comments (2)

  1. จะขออนุญาตใช้บทความนี้ในการเสนอหัวข้อทีสิส จะต้องทำยังไง ติดต่อใครทางใดได้บ้างคะ

    Reply

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.