ชื่อของ “ชิคุนกุนยา” อาจจะเป็นชื่อที่หลายคนไม่คุ้นหู แต่โรคนี้เริ่มสร้างความกังวลให้กับนักท่องเที่ยวมาเลเซียสิงคโปร์ ที่เริ่มระบาดแนวพรมแดน จนคนเริ่มแห่ยกเลิกท่องเที่ยวเมืองหาดใหญ่ ทาง Zcooby ขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยานะครับ
ชิคุนกุนยา คือโรคอะไร?
ชิคุณกุนยา (ภาษาญี่ปุ่นคือ チクングンヤ熱 ) หรือ Chikungunya virus (ชื่อย่อ CHIKV) เป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งติดต่อมาสู่มนุษย์ทางยุงลาย โดยการระบาดของ CHIKV ทำให้เกิดการพิการอย่างรุนแรงและทำให้เกิดความเจ็บป่วยและกลุ่มอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก
ลักษณะอาการผู้ป่วยจากชิคุนกุนยา
- การติดเชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัวของเชื้อ (incubation period) 2-4 วัน ทำให้มีไข้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส
- มีจุดเลือดออกหรือผื่นแดง (petechial or maculopapular rash) ในบริเวณลำตัวและอาจเกิดในบริเวณแขนและขาด้วย
- มีอาการปวดข้อในหลายๆข้อ
- อาจมีอาการอื่นๆอาจรวมการปวดหัว (headache) เยื่อตาอักเสบหรือติดเชื้อ (conjunctival infection) และแพ้แสงเล็กน้อย (slight photophobia)
โดยปกติไข้จะมีอยู่ประมาณ 2 วัน และหายไข้โดยทันที อาการอื่นๆ เช่น การปวดข้อ, การปวดหัวอย่างรุนแรง, นอนไม่หลับ ฯลฯ จะเป็นอยู่นานกว่าอาการไข้ คือตั้งแต่ 5-7 วัน ทั้งนี้อาการปวดข้อของผู้ป่วยยังขึ้นกับอายุของผู้ป่วยด้วย
การรักษาผู้ป่วยจากชิคุนกุนยา
ปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาโดยเฉพาะ
ยาคลอโรควิน (Chloroquine) สามารถช่วยควบคุมการเกิดกลุ่มอาการจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาได้ และช่วยลดการอักเสบในข้อต่างๆด้วย แต่ทั้งนี้ยังอยู่ในขั้นการทดลองใช้กับผู้ป่วยในประเทศต่างๆเท่านั้น
การป้องกันโรคชิคุนกุนยา
- หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
- กำจัดลูกน้ำยุงลาย
- ติดมุ้งลวดตามที่อยู่อาศัย
- ใส่เสื่อผ้าที่มิดชิด
- ใช้ยากันยุงที่มีสารไล่แมลง เช่น DEET (N,N-Diethyl-meta-toluamide; หรือที่รู้จักในชื่อสูตร N,N’-Diethyl-3-methylbenzamide หรือ NNDB), icaridin (picaridin หรือ KBR3023), PMD (p-menthane-3,8-diol, สารสะกัดจากต้นเลมอนยูคาลิปตัส), หรือ IR3535 เป็นต้น ทั้งนี้สารพวกpyrethroidsซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงก็มีฤทธิ์ในการไล่แมลงได้ด้วย เช่น pyrethroidsแบบระเหิด (ที่ใส่ในขดยากันยุง)
Be the first to comment