บุญเพ็ง ไฝผิวชัย คือใคร? พร้อมประวัติและผลงานที่น่าสนใจของ บุญเพ็ง ไฝผิวชัย

หน้าแรกของ Google ในประเทศไทยวันนี้ (22 กันยายน 2564) เป็นเรื่องราวของคนไทยท่านหนึ่ง คือ บุญเพ็ง ไฝผิวชัย ทาง Zcooby ขอนำเสนอประวัติและผลงานที่น่าสนใจของท่านนะครับ

บุญเพ็ง ไฝผิวชัย คือใคร?

นางบุญเพ็ญ ไผ่ผิวชัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ปี พ.ศ.2540 เป็นเจ้าของฉายา “ราชินีหมอลำกลอน” นับว่าเป็นหมอลำผู้หญิงคนที่ 2 ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติด้านศิลปะการแสดงหมอลำที่สร้างชื่อเสียง ให้ชาวจังหวัดอุบลราชธานี


ประวัติ บุญเพ็ญ ไผ่ผิวชัย

ชื่อจริง : บุญเพ็ง ไฝผิวชัย

เกิด : 22 กันยายน พ.ศ.2475

เสียชีวิต : 1 เมษายน พ.ศ. 2551

อายุรวม : 76 ปี

ครอบครัว : บิดาชื่อ นายช่วย ไผ่ผิวชัย มารดาชื่อ นางต่อน ไผ่ผิวชัย

ชีวิตสมรส : สมรสกับนายพั่ว พูลทอง (ถึงแก่กรรม) มีบุตรและธิดา 8 คน ต่อมาได้สมรสกับนายเคน ดาเหลา

การศึกษา : จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านดอนจิก ตำบลดอนจิก อ าเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

จุดเริ่มต้น : บุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย เข้าสู่วงการหมอลำเมื่ออายุ12 ปีโดยฝึกลำกับหมอลำทองมี สายพิณ และหมอลำสุบรรณ พละสูรย์ ที่อำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี และได้ติดตามไปลำในที่ต่าง ๆ จนผู้ชมเริ่มรู้จักมากขึ้นพอย่างเข้าอายุ 14 ปี เริ่มรับงานเองบ้าง ผลงานแสดงแต่ละครั้งสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนอายุ 23 ปีเป็นยุคแรกที่มีชื่อเสียงเนื่องจากมีงานแสดงทั้งกลางวันกลางคืน กลอนลำแต่ละกลอนให้คติสอนใจเสียง ท่วงท่าทำนองและจังหวะการร้องลำสนุกสนานเร้าใจผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

นางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านนี้ จนได้รับความนิยมจากประชาชน ทำให้บริษัท กมลสุโกศล ติดต่อ ให้บันทึกเสียงลงแผ่นเป็นหมอลำหญิงคนเดียวที่ได้อัดแผ่นเสียงเมื่อปีพ.ศ.2498 ผลงานการลำของนางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย จึงแพร่หลายมากขึ้น จนได้รับความนิยมของประชาชนในระยะนั้นสูงมากเป็นพิเศษ


ผลงานที่โดดเด่น ของนางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย

ในปีพ.ศ.2514-2521 บริษัทเสียงสยามและบริษัท กรุงไทยได้ผลิตเทปผลงานของนางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย ออกจำหน่ายถึง 500 ชุด ซึ่งเป็นระยะที่ได้รับความนิยมสูงสุด ต้องรับงานแสดงทั้งกลางวันกลางคืน และยังสละเวลาแสดงผลงานให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่าง ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

  • ในปี พ.ศ.2522 ได้เข้าร่วมแสดงในการสาธิตวัฒนธรรมอีสานในงานประสาทปริญญา พุทธศาสนบัณฑิตและงานอนุสรณ์ครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาธาตุวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นวิทยากรอบรมพัฒนาสื่อพื้นบ้าน ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุดรธานี
  • ในปี พ.ศ. 2526 ช่วยเหลืองานการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ในปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2533 ร่วมสาธิตในสารคดีจากที่ ราบสูง ของสถานีทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5
  • ในปี พ.ศ.2534 รณรงค์โครงการอีสานไม่กินปลาดิบ ของ จังหวัดกาฬสินธุ์ และรณรงค์ประชาธิปไตย ณ โรงเรียนพลวิทยาคม
  • ในปี พ.ศ.2535 เข้าร่วมการสัมมนา และประชาสัมพันธ์ป้องกันเอดส์ภาคตะวันออกเฉียงเหลือ ของกรมประชาสัมพันธ์ และร่วมสนับสนุนการจัดงาน คาราวานอีสานไม่กินปลาดิบ ร่วมกิจกรรมไหว้ครู ณ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติและ รณรงค์กินปลาดิบกับสมาคมปราบพยาธิใบไม้ตับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รางวัล,เกียรติคุณ

  • เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่นประจำปี พ.ศ.2533
  • ได้รับเกียรติจากศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น เชิญไปแสดง แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างวันที่ 14-25 พฤศจิกายน พ.ศ.
    2536 ณ ประเทศญี่ปุ่น
  • ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพ.ศ.2537 จากสำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปี พ.ศ.2540 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2540

ผลงานของ บุญเพ็ง ไฝผิวชัย

  • นานาคติ
  • บุพกรรมนิทาน
  • แมงดาหากินตามซ่อง
  • รำวงลาว
  • ล่องโขงในขวด
  • ลูกทรพีฆ่าพ่อ
  • สอนผู้เฒ่า
  • เกี้ยวผู้ชายชอบหลอก
  • เกี้ยวอุปมา
  • คติโบราณ ๑
  • คติโบราณ ๒
  • นครกลางดง
  • เบ็ดเตล็ดสับเปิ่น
  • ประเพณีลาว
  • รักเปรียบเทียบ
  • ลาวเวียงจันทน์
  • สมัยโบราณ ๑
  • สมัยโบราณ ๒
  • สมัยเวียงจันทร์
  • อวยพรทหารตำรวจ
  • อัศจรรย์

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.