เบโทเฟน คือใคร? รู้จักประวัติและผลงานของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟนให้มากขึ้น

เบโทเฟน (Beethoven) หลายคนอาจจะรู้จักเขาในฐานะนักเปียโนชื่อดังระดับโลก แต่หลายคนอาจจะไม่รู้จักว่าเขาคือใคร วันนี้ Zcooby จะพาให้คุณรู้จักเขามากขึ้น พร้อมประวัติและผลงานที่น่าสนใจของเขาครับ

เบโทเฟน

เบโทเฟน คือใคร?

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมันชื่อดังก้องโลก ผู้มีผลงานด้านการประพันธ์เพลงอันลือลั่นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ซิมโฟนีหมายเลข 9, ฟูร์ เอลิส, ซิมโฟนีหมายเลข 5, มูนไลท์ โซนาตา, เปียโนโซนาตาหมายเลข 14 หรือ เปียโนโซนาตาหมายเลข 8

เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคโรแมนติกผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง

วันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิด 245 ปีของเขาครับ ทาง Google จึงได้นำเรื่องราวของเขามาไว้ที่หน้าแรกของกูเกิ้ลครับ

เบโทเฟน ประวัติ

ประวัติของเบโทเฟน

ประวัติของเขาเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่าง ๆ ที่เป็นรูปเบโทเฟน เราจะสังเกตได้ว่า สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ เราลองมาไล่เรียงดูชีวิตของเขากันนะครับ

ค.ศ. 1770 – ลุดวิจ ฟาน เบโธเฟนเกิดที่เมืองบอนน์ (ประเทศเยอรมนี) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เป็นลูกชายคนรองของโยฮันน์ ฟาน เบโธเฟน (Johann van Beethoven) กับ มาเรีย มักเดเลนา เคเวริค (Maria Magdelena Keverich)

บิดาเป็นนักนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก และเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังติดสุรา รายได้เกินครึ่งหนึ่งของครอบครัวถูกบิดาของเขาใช้เป็นค่าสุรา ทำให้ครอบครัวยากจนขัดสน บิดาของเขาหวังจะให้เบโธเฟนได้กลายเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่าง โมสาร์ท นักดนตรีอีกคนที่โด่งดังในช่วงยุคที่เบโทเฟนยังเด็ก จึงเริ่มสอนดนตรีให้ใน

ค.ศ. 1776 –  แม้ว่าบิดาของเบโทเฟนเป็นนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก แต่ก็เป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังติดสุรา บิดาของเขาจึงหวังจะให้เบโธเฟนได้กลายเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่าง โมสาร์ท นักดนตรีอีกคนที่โด่งดังในช่วงยุคที่เบโทเฟนยังเด็ก จึงเริ่มสอนดนตรีให้ในขณะที่เบโทเฟนอายุ 5 ขวบ

แต่ด้วยความหวังที่ตั้งไว้สูงเกินไป (เพราะว่าก่อนหน้าเบโธเฟนเกิด โมสาร์ทสามารถเล่นดนตรีหาเงินให้ครอบครัวได้ตั้งแต่อายุ 6 ปี บิดาของเบโธเฟนตั้งความหวังไว้ให้เบโธเฟนเล่นดนตรีหาเงินภายในอายุ 6 ปีให้ได้เหมือนโมสาร์ท) ประกอบกับเป็นคนขาดความรับผิดชอบเป็นทุนเดิม ทำให้การสอนดนตรีของบิดานั้นเข้มงวด โหดร้ายทารุณ เช่น ขังเบโธเฟนไว้ในห้องกับเปียโน 1 หลัง , สั่งห้ามไม่ให้เบโธเฟนเล่นกับน้อง ๆ เป็นต้น ทำให้เบโทเฟนเคยท้อแท้กับเรื่องดนตรี แต่เมื่อได้เห็นสุขภาพมารดาที่เริ่มกระเสาะกระแสะด้วยวัณโรค ก็เกิดความพยายามสู้เรียนดนตรีต่อไป เพื่อหาเงินมาสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว

ค.ศ. 1777 –  เบโทเฟนเข้าเรียนโรงเรียนสอนภาษาละตินสำหรับประชาชนที่เมืองบอนน์

ค.ศ. 1778 – การฝึกซ้อมมานานสองปีเริ่มสัมฤทธิ์ผล เบโทเฟนสามารถเปิดคอนเสิร์ตเปียโนในที่สาธารณะได้เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ขณะอายุ 7 ปี 3 เดือน ที่เมืองโคโลญจน์ (Cologne) แต่บิดาของเบทโฮเฟินโกหกประชาชนว่าเบทโฮเฟินอายุ 6 ปี เพราะหากอายุยิ่งน้อย ประชาชนจะยิ่งให้ความสนใจมากขึ้น ในฐานะนักดนตรีที่เก่งตั้งแต่เด็ก หลังจากนั้น เบทโฮเฟินเรียนไวโอลินและออร์แกนกับอาจารย์หลายคน

ค.ศ. 1781 – เบโทเฟนได้เป็นศิษย์ของคริสเตียน กอตท์โลบ นีเฟ (Christian Gottlob Neefe) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สร้างความสามารถในชีวิตให้เขามากที่สุด นีเฟสอนเบโทเฟนในเรื่องเปียโนและการแต่งเพลง

ค.ศ. 1784 – เบโทเฟนได้เล่นออร์แกนในคณะดนตรีประจำราชสำนัก ในตำแหน่งนักออร์แกนที่สอง มีค่าตอบแทนให้พอสมควร แต่เงินส่วนใหญ่ที่หามาได้ ก็หมดไปกับค่าสุราของบิดา

ค.ศ. 1787 – เบโทเฟนเดินทางไปยังเมืองเวียนนา(Vienna) เพื่อศึกษาดนตรีต่อ เขาได้พบโมซาร์ท และมีโอกาสเล่นเปียโนให้โมซาร์ทฟัง เมื่อโมสาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโทเฟนแล้ว กล่าวกับเพื่อนว่าเบโทเฟนจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป แต่อยู่เมืองนี้ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก็ได้รับข่าวว่าอาการวัณโรคของมารดากำเริบหนัก จึงต้องรีบเดินทางกลับบอนน์ หลังจากนั้นไม่นาน มารดาของเขาก็เสียชีวิตลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1787 ด้วยวัย 43 ปี

การเสียชีวิตของมารดานั้น ทำให้เบโทเฟนเศร้าโศกซึมเซาอย่างรุนแรง  และทำให้บิดาของเขาดื่มสุราหนักขึ้น จนในที่สุดก็ถูกไล่ออกจากคณะดนตรีประจำราชสำนัก

ผลก็คือเบโทเฟนในวัย 16 ปีเศษ ต้องรับบทเลี้ยงดูบิดาและน้องชายอีก 2 คน

ค.ศ. 1788 – เบโทเฟนเริ่มสอนเปียโนให้กับคนในตระกูลบรอยนิงค์ เพื่อหาเงินให้ครอบครัว

ค.ศ. 1789 – เบโทเฟนเข้าเป็นนักศึกษาไม่คิดหน่วยกิตในมหาวิทยาลัยบอนน์

ค.ศ. 1792 –  เบโทเฟนตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เขาได้มีโอกาสศึกษาดนตรีกับโจเซฟ ไฮเดิน หลังจากเขาเดินทางมาเวียนนาได้ 1 เดือน ก็ได้รับข่าวว่าบิดาป่วยหนักใกล้จะเสียชีวิต แต่ครั้งนี้เขาตัดสินใจไม่กลับบอนน์ ให้น้องทั้งสองคอยดูแลพ่อ และในปีนั้นเองบิดาของเบโทเฟนก็สิ้นใจลงโดยไม่มีเบโทเฟนกลับไปดูใจ

แต่เบโทเฟนเองก็ประสบความสำเร็จในการแสดงคอนเสิร์ตในฐานะนักเปียโนเอก และเป็นผู้ที่สามารถเล่นได้โดยคิดทำนองขึ้นมาสด ๆ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงและครอบครัวขุนนาง

ค.ศ. 1795 –  เขาเปิดการแสดงดนตรีในโรงละครสาธารณะในเวียนนา และแสดงต่อหน้าประชาชน ทำให้เบโทเฟนเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น

บีโทเฟน

ค.ศ. 1796 ระบบการได้ยินของเบโทเฟนเริ่มมีปัญหา เขาเริ่มไม่ได้ยินเสียงในสถานที่กว้าง ๆ และเสียงกระซิบของผู้คน เขาตัดสินใจปิดเรื่องหูตึงนี้เอาไว้ เพราะในสังคมยุคนั้น ผู้ที่ร่างกายมีปัญหา(พิการ) จะถูกกลั่นแกล้ง เหยียดหยาม จนในที่สุดผู้พิการหลายคนกลายเป็นขอทาน

ดังนั้น เขาต้องประสบความสำเร็จให้ได้เสียก่อนจึงจะเปิดเผยเรื่องนี้ จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิกคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิก แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด

ค.ศ. 1801 – เบโทเฟนเปิดเผยเรื่องปัญหาในระบบการได้ยินให้ผู้อื่นฟังเป็นครั้งแรก แต่ครั้งนี้สังคมยอมรับ ทำให้เขาไม่จำเป็นต้องปกปิดเรื่องอาการหูตึงอีก หลังจากนั้น ก็เป็นยุคที่เขาประพันธ์เพลงออกมามากมาย

แต่เพลงที่เขาประพันธ์นั้นจะมีปัญหาตรงที่ล้ำสมัยเกินไป ผู้ฟังเพลงไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ในภายหลัง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเข้าใจในเนื้อเพลงของเบโทเฟน บทเพลงหลายเพลงเหล่านั้นก็เป็นที่นิยมล้นหลามมาถึงปัจจุบัน

เมื่อเบโทเฟนโด่งดังก็ย่อมมีผู้อิจฉา มีกลุ่มที่พยายามแกล้งเบโทเฟนให้ตกต่ำ จนเบโทเฟนคิดจะเดินทางไปยังเมืองคาสเซล ทำให้มีกลุ่มผู้ชื่นชมในผลงานของเบโทเฟนมาขอร้องไม่ให้เขาไปจากเวียนนา พร้อมทั้งเสนอตัวให้การสนับสนุนการเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าเบโทเฟนต้องอยู่ในเวียนนา ทำให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ และผลิตผลงานตามที่ต้องการโดยไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร

เบโทเฟนโด่งดังมากในฐานะคีตกวี อาการสูญเสียการได้ยินมีมากขึ้น แต่เขาพยายามสร้างสรรค์ผลงานจากความสามารถและสภาพที่ตนเป็นอยู่ มีผลงานชั้นยอดเยี่ยมให้กับโลกแห่งเสียงเพลงเป็นจำนวนมาก ผลงานอันโด่งดังในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เบโทเฟนถ่ายทอดท่วงทำนองออกมาเป็นจังหวะ สั้น – สั้น – สั้น – ยาว อาการไม่ได้ยินรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

และผลงานที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของเบโทเฟนนั่นคือ ซิมโฟนีหมายเลข 9 เป็นบทเพลงที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819 เป็นต้นมา รวมทั้งบทเพลงควอเต็ตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้เช่นกัน

ในช่วงนี้เขามีอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับหลานชายที่เขารับมาอุปการะ เขาถูกหาว่าเป็นคนบ้า และถูกเด็ก ๆ ขว้างปาด้วยก้อนหินเมื่อเขาออกไปเดินตามท้องถนน แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความเป็นอัจฉริยะของเขาได้ แต่ภายหลังเขาก็ได้พูดคุยปรับความเข้าใจกับหลานชายเป็นที่เรียบร้อย

ค.ศ. 1826 – โรคเรื้อรังในลำไส้ที่เบโทเฟนเป็นมานานก็กำเริบหนัก หลังจากรักษาแล้ว ได้เดินทางมาพักฟื้นที่บ้านน้องชายบนที่ราบสูง แต่อารมณ์แปรปรวนก็ทำให้เขาทะเลาะกับน้องชายจนได้ เขาตัดสินใจเดินทางกลับเวียนนาในทันที แต่รถม้าที่นั่งมาไม่มีเก้าอี้และหลังคา เบโทเฟนทนหนาวมาตลอดทาง ทำให้เป็นโรคปอดบวม แต่ไม่นานก็รักษาหาย

12 ธันวาคม ค.ศ. 1826 – โรคเรื้อรังในลำไส้และตับของเบโทเฟนกำเริบหนัก อาการทรุดลงตามลำดับ

26 มีนาคม ค.ศ. 1827 – เขาได้เสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการในโบสถ์เซนต์ ตรินิตี โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 20,000 คน ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานกลางในกรุงเวียนนา

ผลงานของเบโทเฟน

ผลงานการประพันธ์เพลงของเขามีมากมาย แต่ทางเราขอนำเสนอ 3 ผลงานเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักมาให้คุณได้ฟังกันนะครับ

ซิมโฟนีหมายเลข 5

ฟูร์ เอลิส

มูนไลท์ โซนาตา

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.