อังกะลุง คืออะไร? ประวัติและความเป็นมาของอังกะลุง 16 พฤศจิกายน วันเฉลิมฉลองอังกะลุง

อังกะลุง คืออะไร? ประวัติและความเป็นมาของอังกะลุง

16 พฤศจิกายน วันเฉลิมฉลองอังกะลุง

อังกะลุง คืออะไร?

อังกะลุง (Angklung) เป็นเครื่องดนตรียประเภทเครื่องกระทบชนิดหนึ่งที่ทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง มีต้นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเซีย

โดยทั่วไปอังกะลุงจะประกอบด้วยท่อสองท่อและฐาน ช่างฝีมือระดับปรมาจารย์เหลาไม้ไผ่เป็นกระบอกขนาดต่างๆ ซึ่งกำหนดระดับเสียงของอังกะลุง เมื่อผู้เล่นเขย่าหรือเคาะฐานไม้ไผ่เบา ๆ เครื่องดนตรีจะส่งเสียงแหลมเดียว เนื่องจากอังกะลุงเล่นเพียงโน้ตเดียว ผู้เล่นจึงต้องร่วมมือกันสร้างท่วงทำนองด้วยการเขย่าอังกะลุงตามระดับเสียงที่แตกต่างกัน

เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 หรือเมื่อ 12 ปีที่แล้ว องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าอังกะลุงอินโดนีเซียเป็นงานชิ้นเอกของมรดกมุขปาฐะและมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ และสนับสนุนให้ชาวอินโดนีเซียและรัฐบาลอินโดนีเซียสงวนรักษา ถ่ายทอด ส่งเสริมการเล่น และสนับสนุนงานช่างฝีมืออังกะลุง


อังกะลุง (Angklung)

อังกะลุงในประเทศไทย

สำหรับความเป็นมาของอังกะลุงในประเทศไทยนั้น หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. 2451 เมื่อครั้งที่โดยเสด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดช ขณะเสด็จพระราชดำเนินประพาสเกาะชวา

โดยอังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ 3 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา (อินโดนีเซีย) คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียง

อังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้นมี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดทั้งตัวอังกะลุงและราง ภายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชกาลที่ 6 เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการเขย่าแทน นับว่าเป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

อังกะลุงอาจเล่นเป็นวงดนตรีอังกะลุงโดยเฉพาะหรือเล่นรวมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ก็ได้ มักพบในวงดนตรีของสถาบันการศึกษามากกว่าวงดนตรีอาชีพ โดยวงอังกะลุงวงหนึ่งจะมีอังกะลุงอย่างน้อย 7 คู่ หรือ 5 คู่ ก็ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่และงาน โดยจะมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง, กลองแขก นอกจากนี้มักมีเครื่องตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ธงชาติ, หางนกยูง เป็นต้น มีมากในเขตนนทบุรี


Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.