หน้าแรกของ Google ในประเทศไทยวันนี้ (22 กันยายน 2564) เป็นเรื่องราวของคนไทยท่านหนึ่ง คือ บุญเพ็ง ไฝผิวชัย ทาง Zcooby ขอนำเสนอประวัติและผลงานที่น่าสนใจของท่านนะครับ
บุญเพ็ง ไฝผิวชัย คือใคร?
นางบุญเพ็ญ ไผ่ผิวชัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ปี พ.ศ.2540 เป็นเจ้าของฉายา “ราชินีหมอลำกลอน” นับว่าเป็นหมอลำผู้หญิงคนที่ 2 ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติด้านศิลปะการแสดงหมอลำที่สร้างชื่อเสียง ให้ชาวจังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติ บุญเพ็ญ ไผ่ผิวชัย
ชื่อจริง : บุญเพ็ง ไฝผิวชัย
เกิด : 22 กันยายน พ.ศ.2475
เสียชีวิต : 1 เมษายน พ.ศ. 2551
อายุรวม : 76 ปี
ครอบครัว : บิดาชื่อ นายช่วย ไผ่ผิวชัย มารดาชื่อ นางต่อน ไผ่ผิวชัย
ชีวิตสมรส : สมรสกับนายพั่ว พูลทอง (ถึงแก่กรรม) มีบุตรและธิดา 8 คน ต่อมาได้สมรสกับนายเคน ดาเหลา
การศึกษา : จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านดอนจิก ตำบลดอนจิก อ าเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
จุดเริ่มต้น : บุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย เข้าสู่วงการหมอลำเมื่ออายุ12 ปีโดยฝึกลำกับหมอลำทองมี สายพิณ และหมอลำสุบรรณ พละสูรย์ ที่อำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี และได้ติดตามไปลำในที่ต่าง ๆ จนผู้ชมเริ่มรู้จักมากขึ้นพอย่างเข้าอายุ 14 ปี เริ่มรับงานเองบ้าง ผลงานแสดงแต่ละครั้งสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนอายุ 23 ปีเป็นยุคแรกที่มีชื่อเสียงเนื่องจากมีงานแสดงทั้งกลางวันกลางคืน กลอนลำแต่ละกลอนให้คติสอนใจเสียง ท่วงท่าทำนองและจังหวะการร้องลำสนุกสนานเร้าใจผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง
นางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านนี้ จนได้รับความนิยมจากประชาชน ทำให้บริษัท กมลสุโกศล ติดต่อ ให้บันทึกเสียงลงแผ่นเป็นหมอลำหญิงคนเดียวที่ได้อัดแผ่นเสียงเมื่อปีพ.ศ.2498 ผลงานการลำของนางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย จึงแพร่หลายมากขึ้น จนได้รับความนิยมของประชาชนในระยะนั้นสูงมากเป็นพิเศษ
ผลงานที่โดดเด่น ของนางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย
ในปีพ.ศ.2514-2521 บริษัทเสียงสยามและบริษัท กรุงไทยได้ผลิตเทปผลงานของนางบุญเพ็ง ไผ่ผิวชัย ออกจำหน่ายถึง 500 ชุด ซึ่งเป็นระยะที่ได้รับความนิยมสูงสุด ต้องรับงานแสดงทั้งกลางวันกลางคืน และยังสละเวลาแสดงผลงานให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่าง ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
- ในปี พ.ศ.2522 ได้เข้าร่วมแสดงในการสาธิตวัฒนธรรมอีสานในงานประสาทปริญญา พุทธศาสนบัณฑิตและงานอนุสรณ์ครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาธาตุวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นวิทยากรอบรมพัฒนาสื่อพื้นบ้าน ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุดรธานี
- ในปี พ.ศ. 2526 ช่วยเหลืองานการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดกาฬสินธุ์
- ในปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2533 ร่วมสาธิตในสารคดีจากที่ ราบสูง ของสถานีทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5
- ในปี พ.ศ.2534 รณรงค์โครงการอีสานไม่กินปลาดิบ ของ จังหวัดกาฬสินธุ์ และรณรงค์ประชาธิปไตย ณ โรงเรียนพลวิทยาคม
- ในปี พ.ศ.2535 เข้าร่วมการสัมมนา และประชาสัมพันธ์ป้องกันเอดส์ภาคตะวันออกเฉียงเหลือ ของกรมประชาสัมพันธ์ และร่วมสนับสนุนการจัดงาน คาราวานอีสานไม่กินปลาดิบ ร่วมกิจกรรมไหว้ครู ณ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติและ รณรงค์กินปลาดิบกับสมาคมปราบพยาธิใบไม้ตับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รางวัล,เกียรติคุณ
- เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่นประจำปี พ.ศ.2533
- ได้รับเกียรติจากศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น เชิญไปแสดง แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างวันที่ 14-25 พฤศจิกายน พ.ศ.
2536 ณ ประเทศญี่ปุ่น - ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพ.ศ.2537 จากสำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปี พ.ศ.2540 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2540
ผลงานของ บุญเพ็ง ไฝผิวชัย
- นานาคติ
- บุพกรรมนิทาน
- แมงดาหากินตามซ่อง
- รำวงลาว
- ล่องโขงในขวด
- ลูกทรพีฆ่าพ่อ
- สอนผู้เฒ่า
- เกี้ยวผู้ชายชอบหลอก
- เกี้ยวอุปมา
- คติโบราณ ๑
- คติโบราณ ๒
- นครกลางดง
- เบ็ดเตล็ดสับเปิ่น
- ประเพณีลาว
- รักเปรียบเทียบ
- ลาวเวียงจันทน์
- สมัยโบราณ ๑
- สมัยโบราณ ๒
- สมัยเวียงจันทร์
- อวยพรทหารตำรวจ
- อัศจรรย์
Be the first to comment