หลายคนอาจจะได้เห็นรูป ขนมปังบาแก็ต บนหน้าแรกของ Google อาจจะสงสัยว่าขนมปังบาแก็ตมีความสำคัญอะไร ถึงได้ขึ้นหน้าแรกของ Google วันนี้ Zcooby หาคำตอบมาให้ทราบกันนะครับ
ขนมปังบาแก็ตบนหน้าแรก google สื่อถึงอะไร?
จริงๆ แล้ววันนี้ (13 กันยายน 2558) ถือว่าเป็น “22nd anniversary of the official recognition of French traditional bread” หรือครบรอบ 22 ปีของการได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ขนมปังบาแก็ต เป็นขนมที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศสครับ
ขนมปังบาแก็ตคืออะไร?
บาแก็ต (ฝรั่งเศส: baguette, ออกเสียง /baɡɛt/) หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช
“บาแก็ตต์” (Baguette) ที่มีความหมายว่า “แท่งไม้” ตามรูปลักษณ์ของมัน เอกลักษณ์ของมันคือความกรอบของเปลือก บาแก็ตต์ผิดกับขนมปังทั่วไปตรงความ “กรอบนอกนุ่มใน” ทำให้เวลาผ่า ตัด หรือเฉือนเป็นส่วนๆ ทำได้ง่าย และขนมปังไม่เสียรูป บาแก็ตต์เป็นขนมปังที่คนฝรั่งเศสกินกันอย่างแพร่หลายจนแทบจะกลายเป็นขนมปังประจำชาติ ทำให้คนส่วนใหญ่เรียกบาแก็ตต์ว่า “ขนมปังฝรั่งเศส”
โดยปกติแล้วบาแก็ตจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 5 – 6 เซนติเมตร (2 – 2⅓ นิ้ว) และความยาวอยู่ที่ 65 เซนติเมตร (26 นิ้ว)
ที่มาของขนมปังบาแก็ต
สำหรับประวัติความเป็นมาของขนมปังชนิดนี้ จริงๆ แล้ว ต้นกำเนิดของบาแก็ตไม่ใช่ของฝรั่งเศสแท้ๆ หากมันมีต้นกำเนิดจาก “เวียนนา” ประเทศออสเตรีย ในช่วงประมาณยุคกลางศตวรรษที่ 19
เหตุที่คนฝรั่งเศสหันมากินบาแก็ตต์แทนบูลกันทั้งประเทศ ก็เพราะรูปร่างที่ไม่เป็นก้อนอวบกลม ทำให้เนื้อขนมไม่สุกจนเกินไป และความกรอบของผิวพอดีกับความหยุ่นของเนื้อขนม อย่างที่ภาษาขนมปังเรียกว่าได้ส่วนกันระหว่าง “เปลือก/crust” และ “ปุย/crumb” ง่ายๆ คืออร่อยกว่า เนื้อถูกปากกว่า
นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ.1920 ฝรั่งเศสเคยมีกฎหมายแปลกๆ คือห้ามคนทำงานก่อนตีสี่ ทำให้การอบขนมปังบูลไม่ทันเวลาเปิดร้าน เพราะใช้เวลาอบนานกว่าบาแก็ตต์ จึงได้มีการออกแบบรูปทรงของขนมปังใหม่ให้สามารถทำและอบสุกได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลาของผู้คนที่จะมาซื้อขนมปังไปรับประทานในเวลาเช้า และรูปทรงใหม่นี้ เหมาะแก่การหั่นทำแซนวิชได้เร็วขึ้นอีกด้วย
ประวัติศาสตร์การกินขนมปังของฝรั่งเศสจึงพลิกโฉมไปนิยมกินบาแก็ตต์แท่งยาวจากออสเตรีย และนิยมสืบต่อมาจนกลายเป็นขนมปังประจำชาติด้วย
Be the first to comment