ในช่วงนี้ หลายคนอาจจะได้ยินคำๆ หนึ่งอยู่บ่อยๆ ว่า “รัฐประหาร” หลายคนอาจจะสงสัยว่าแปลว่าอะไร? แตกต่างจาก”ปฏิวัติ” อย่างไร?
รัฐประหาร คืออะไร?
ในความหมายแบบสั้น รัฐประหาร หมายถึง การใช้กำลังยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลันแต่ไม่เปลี่ยนระบอบการปกครอง, ถ้าเปลี่ยนระบอบการปกครองด้วยเรียกว่า ปฏิวัติ.
ในความหมายแบบยาว รัฐประหาร เป็นการใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างฉับไวด้วยกำลังคนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปกติเกิดจากสถาบันของรัฐที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กเพื่อโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วเปลี่ยนเป็นองค์กรทหาร
รัฐประหารพิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อผู้ยึดอำนาจสถาปนาภาวะครอบงำ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องเกิดความรุนแรงหรือเสียเลือดเนื้อ
ศาลฎีกาไทยตีความว่า รัฐประหารมิได้ขัดต่อกฎหมาย เพราะ “กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์”
แต่ทุกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดมาตรา 113 ไว้ว่าการใช้กำลังหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวไม่ได้ ผิดฐานกบฎ ต้องโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
ความแตกต่างระหว่าง “รัฐประหาร” กับ “ปฏิวัติ”
รัฐประหาร หมายถึง การใช้กำลังยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน แต่ไม่เปลี่ยนระบอบการปกครอง
ปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนแปลงหลักมูลในโครงสร้างอำนาจหรือการจัดระเบียบซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาค่อนข้างสั้น (มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง)
ในประเทศไทย มีการทำรัฐประหารทั้งหมด 18 ครั้ง แต่มีการปฏิวัติแค่ครั้งเดียว คือ “การปฏิวัติสยาม” ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy)
Be the first to comment