ฟอสฟีน (Phosphine) คืออะไร? รู้จักก๊าซฟอสฟีน #Phosphine #ฟอสฟีน

ฟอสฟีน (Phosphine) คืออะไร? รู้จักก๊าซฟอสฟีน #Phosphine

ฟอสฟีน (Phosphine) : สูตรทางเคมี PH3

ฟอสฟีน คืออะไร?

ฟอสฟีน (Phosphine) เป็นก๊าซที่มีสูตรทางเคมี PH3 หรือ H3P เป็นก๊าซที่มีกลิ่นปลาเน่า

ก๊าซฟอสฟีน เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาของสารอลูมิเนียมฟอสไฟด์ (aluminium phosphide) หรือสารสังกะสีฟอสไฟด์ (zinc phosphide) กับความชื้นในอากาศ โดยปกติสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็ง เมื่อทำปฏิกิริยากลายเป็นแก๊ส phosphine

ในอุตสาหกรรมทั่วไปพบก๊าซฟอสฟีนได้จาก

  • ใช้สำหรับเป็นสารรมควัน (fumigant) เพื่อใช้ฆ่าหนู (rodenticide) ในยุ้งฉางซึ่งบรรจุเมล็ดข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ใบยาสูบ หรือพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ
  • ในกระบวนการหลอมโลหะผสม (ferrosilicon) สามารถเกิดก๊าซฟอสฟีนขึ้นได้
  • ในกระบวนการผลิตสารกึ่งตัวนำ (semi-conductors) มีการใช้ฟอสฟีน ในกระบวนการผลิต ทั้งสารกึ่งตัวนำชนิดที่ทำจาก silicon (Si) และ gallium arsenide (GaAs)

เนื่องจากก๊าซชนิดนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตจากรูปแบบของสิ่งมีชีวิต (จากการแตกตัวของสารอินทรีย์) หรือผลิตขึ้นเองในห้องแล็บเท่านั้น หากมีการพบก๊าซชนิดนี้ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงใด นั่นเป็นการบ่งชีวว่า มีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงนั้น


รายละเอียดทางเคมีของฟอสฟีน

  • ชื่อ : ฟอสฟีน (Phosphine)
  • ชื่ออื่น : Phosphorus trihydride, Phosphorus hydride, Phosporated hydrogen, Hydrogen phosphide
  • สูตร: PH3 หรือ H3P
  • จุดเดือด: -87.7 °C
  • รหัส IUPAC: Phosphane
  • ปริมาตรเชิงโมล: 33.99758 ก./โมล
  • จุดหลอมเหลว: -132.8 °C

อันตรายจากก๊าซฟอสฟีน

การกินหรือสูดดม จะเกิดอาการปวดฟัน ขากรรไกร บวม มีการตายของเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกขากรรไกรล่าง คลื่นไส้ อาเจียน ไอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ตัวเหลือง ชากล้ามเนื้อไม่ประสานกัน หายใจลำบาก ปดบวมน้ำ หัวใจเต้นผิดปกติ ชักและอาจตายภายใน 4 วัน หรือ อาจจะ 1-2 สัปดาห์


Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.