พลาสมา (Plasma) คืออะไร? ใช้รักษาโควิด-19 ได้หรือไม่?

หลังจากที่มีการเสนอแนวทางในการรักษาโควิด-19 จากการเอาพลาสมาของผู้ที่เคยป่วยและได้รับการรักษาจนหายแล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า พลาสมา (Plasma) คืออะไร? ใช้รักษาโควิด-19 ได้หรือไม่?

พลาสมา (Plasma) คืออะไร?

พลาสมา (plasma) หรือน้ำเหลือง เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีอยู่ในเลือด โดยในเลือดที่เราบริจาค จะถูกแยกส่วนประกอบของเลือดออกเป็น

  • เลือดแดงอัดแน่น (packed red cells)
  • น้ำเหลืองหรือพลาสมา (plasma)
  • และเกล็ดเลือด (platelet)

ที่มา : สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย


การใช้พลาสมาในการรักษาโควิด-19

ที่มา Facebook Yong Poovorawan

พลาสมา หรือน้ำเหลือง ที่ใช้ในการรักษาโรค

การใช้พลาสมามารักษาโรคไม่ใช่เรื่องใหม่ ในผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานมาต่อต้านเชื้อโรคนั้น

เราสามารถใช้ภูมิต้านทานนั้นมาให้ผู้ป่วยใช้ช่วยในการรักษา เช่น เอามาทำเป็น เซรุ่ม โดยเซรุ่ม ที่เราใช้อยู่จะถูกสกัดมาอีกทีหนึ่งให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น เช่น ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสตับอักเสบบี

ในทำนองเดียวกันพลาสมาในผู้ป่วยที่หายจากโรค โควิด-19 ก็จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส
เราจึงสามารถนำภูมิต้านทานนี้ มาช่วยเสริมในการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ได้

วิธีการนี้เป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์ทั่วโลก และได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ออกมาชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติ

ในการตรวจภูมิต้านทานเพื่อนำพลาสมามาใช้ในกรณีนี้ ในปัจจุบันวิธีที่เชื่อถือได้ที่สุดจะต้องตรวจแบบ neutralizing antibody คือใช้ไวรัส โควิด-19 มาทำปฏิกิริยากับพลาสมานั้นว่าจะมีปริมาณ neutralizing antibody ที่สามารถที่จะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสได้ในปริมาณเท่าไหร่

วิธีการนี้ค่อนข้างซับซ้อน และต้องใช้ไวรัสเชื้อเป็นที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 จึงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยสูงระดับ 3 และแน่นอนจะต้องมีการตรวจเชื้ออื่นๆในพลาสมาตามมาตรฐานการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด

สำหรับคนปกติที่ไม่เคยติดเชื้อ ถ้าต้องการจะบริจาคพลาสมา อยากจะแนะนำให้มาบริจาคโลหิต ก็จะเป็นการบริจาคได้ทั้งเม็ดโลหิตแดง ขาวและเกล็ดเลือด รวมทั้งพลาสมาไปพร้อมกันเลย อันจะเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในภาวะวิกฤตนี้

ในภาวะขณะนี้มีผู้บริจาคลดน้อยลง ก็อยากจะขอเชิญชวนผู้ที่ยังไม่เคยติดเชื้อ มาร่วมกันบริจาคโลหิต ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบริจาคพลาสมาเพื่อใช้ในการรักษาโรค โควิด-19

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.