ทำไมแอร์,สจ๊วต,นักบินถึงไม่ติดโควิด-19 ?

เคยสงสัยไหมครับว่า ในช่วงที่มีข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย กลับพบว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่อากาศยาน ไม่ว่าจะเป็น แอร์โฮสเตส สจ๊วต หรือกัปตันขับเครื่องบิน เป็นผู้ติดเชื้อในไทยเลย ทั้งๆ ที่เดินทางบ่อย และดูเหมือนว่าจะมีความเสี่ยงสูง วันนี้ Zcooby มีคำตอบมาให้ครับ

โดยมีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ท่านหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า ลูกลิงㅇㅅㅇ (@pampamgirl) ซึ่งคาดว่าน่าจะทำงานเกี่ยวข้องกับการให้บริการบนเครื่องบิน ได้ออกมาเล่าถึงแนวความคิดที่น่าสนใจของผู้ทำงานด้านนี้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลตัวเองเพื่อให้พ้นจากความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้ครับ

ทำไมแอร์,สจ๊วต,นักบินถึงไม่ติดโควิด-19 ?

ที่มา

ขอเล่าพฤติกรรมเวลาอยู่บนเครื่องบินที่เราเดาว่าน่าจะเป็นสาเหตุให้ลูกเรือยังไม่ค่อยติดโควิด (เพราะเราและลูกเรือส่วนใหญ่มักจะเป็นเหมือนๆ กัน) ดูก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยไปเฉลยว่าเฟสนั้นเขาว่ายังไงบ้าง

  1. ตั้งต้นที่เสริมภูมิหนักมากกันเกือบทุกคนอยู่แล้ว ทั้งวิตซี 😂 กินเฮลท์ตี้ ออกกำลัง
  2. มีมายด์เซ็ตว่าเวลาอยู่บนเครื่องคือเหมือนกำลังเดินเข้าดงเชื้อโรค

อันนี้ไม่ได้เอาฮานะ ผู้โดยสารอาจจะเห็นว่าอยู่บนเครื่องลูกเรือดูชิวมากเดินสวย จับทุกสิ่ง… แต่จะบอกว่าในหัวแอร์คือประมวลเร็วมาก เช่น ขึ้นเครื่องปั๊บเราจะทำความสะอาดพื้นผิวที่คาดว่าจะจับบ่อยๆ เช่นมือจับประตู โทรศัพท์

ตั้งแต่เท้าแตะเครื่อง ไหนจะน้ำยาฆ่าเชื้อแบบเจลที่พกไว้เสมอเวลาบอร์ดดิ้งแล้วผู้โดยสารจับมือ ใบหน้าร้องไห้ด้วยความปลื้มปิติ อย่างเราคือใครจับมือเรา เราล้างทุกครั้งตั้งแต่ปีแรกที่บิน ถ้าไม่มีเวลาล้าง สมองจะคิดว่า มือขวาๆๆๆ ผู้โดยสารจับๆๆๆ ห้ามจับหน้า ห้ามจับตา ห้ามจับปาก! ท่องไปเรื่อยๆ คือ ใช้วิธีนี้กับทุกสรรพสิ่งที่แตะ

หรือมาแตะเรา ยกเว้นผู้โดยสารจับหน้าก็ตัวใครตัวมัน แต่ปกติคือมี awareness สูงกันมาก มือผู้โดยสารยื่นมาปั๊บคือหลบทันกันมากกว่า 90% นี่ก็เคยโดนคุณยายแสนน่ารักจับแก้มสองข้างไปครั้งเดียวทั้งชีวิตแอร์ นอกนั้นคือหลบโดยการแกล้งยื่นมือไปเชคแฮนด์ก่อนมั่ง เดินถอยหลังมั่งไรมั่ง ขำจนลงไปนอนกลิ้ง

เราไม่ได้รังเกียจเขา… แต่มันคือการป้องกันสองทาง ทั้งเพื่อปกป้องตัวเราและป้องกันไม่ให้เชื้อที่ติดอยู่กับเราแต่ไม่แสดงอาการแพร่ไปสู่เขาด้วย มันเป็นนิสัยที่ฝังหัวจริงๆ อันนี้ยอมรับ

คือพูดเรื่องนี้น่าจะยาวมาก แต่สรุปก็คือการปฏิบัติตัวบนเครื่องของลูกเรือ (แบบเรา) ก็คือ มีวินัยในตัวเองมากเข้าขั้นแพนิคแต่แอบไว้ใต้เมคอัพและยูนิฟอร์มนั่นเอง ขำจนลงไปนอนกลิ้ง โดย

  • ล้างมือทุกครั้งหลังแตะผู้โดยสาร/ก่อนเปิดขวดน้ำดื่ม/หลังจับถังขยะ/ก่อนจับหน้า ตา ปาก/มือโดนพื้น/หยิบของจากพื้น
  • ใช้ศอก เท้า เข่า สะโพก เปิดประตูห้องน้ำแทนมือ ถ้าต้องใช้มือแล้วรู้ว่าไม่มีเวลาล้างก็คือเอาทิชชู่หนาๆวางก่อนสามชั้น ใบหน้าร้องไห้ด้วยความปลื้มปิติ และไม่เคยนั่งให้ก้นสัมผัสโถส้วม
  • ของเกี่ยวกับการกินหรือสิ่งที่จะสัมผัสตา ปาก จมูก เช่น ช้อน ฝาขวดน้ำ แก้วน้ำ ทิชชู่ ถ้าตกพื้นคือทิ้งสถานเดียว
  • ก่อนกินข้าว >>> ล้างมือ เอาอาหารออกจากเตา >>> ล้างมือ จัดอาหารใส่จาน ใส่ถาด เดินมานั่ง >>> ฝากถาดกับเพื่อนแล้วไปล้างมืออีกรอบ ขำจนลงไปนอนกลิ้ง อันนี้คือก่อนโควิดจริงๆนะ
  • ไม่เคยกินแก้วน้ำ ขวดน้ำร่วมกับคนบนไฟล์ท ถ้าวางทิ้งไว้แล้วกลับมาเกิดไม่แน่ใจ ทิ้งแล้วเปิดขวดใหม่สถานเดียว
  • สังเกตอาการตัวเองตลอดเวลา เริ่มเจ็บคอปั๊บคือบ้วนปาก กลั้วคอ พ่นยามันบนไฟล์ทนั่นแหละ
  • ยืนคุยกันเองก็ห่างเมตรนึง ป้องกันดรอปเลทส์ ยิ่งกินข้าวอยู่นะคือ ห่าง ห่างงงงง
  • ใส่ถุงมือเวลาต้องดีลกับห้องน้ำ
  • มีอุปกรณ์เฉพาะสำหรับเก็บกู้อาเจียน ปัสสาวะ ของเหลวไม่พึงประสงค์ฯลฯ บนไฟล์ท

นึกเรื่อง clran freak บนเครื่องไม่ออกละแต่ก็พูดง่ายๆว่าพวกเราตื่นตัวกัน ป้องกันความเสี่ยงแบบ 300% ทุกไฟล์ทมาก่อนพี่โควิดจะมากันอยู่แล้ว เพราะเหตุผลคือถ้าป่วย 1) เราจะบินไม่ได้ 2) เรากัวจะเอาไปติดผู้โดยสาร 3)กลัวเอาไปติดคนใกล้ชิด

  1. ดังนั้นก่อนจะลงจากเครื่อง ตอนเก็บกระเป๋า เราก็พ่นสเปรย์ฆ่าเชื้ออีกรอบ ใบหน้าร้องไห้ด้วยความปลื้มปิติ กลับถึงบ้านก็พยายามอาบน้ำสระผมก่อนจะไปกอดไปหอมคนใกล้ชิด ตามด้วยนอนพักผ่อนเยอะๆ เสริมภูมิ ใบหน้าร้องไห้ด้วยความปลื้มปิติ

สรุปคห.เรานะคะ

  1. ลูกเรือตื่นตัวตลอดอยู่แล้วรวมเรื่องความสะอาดด้วย เรียกว่า aware & vigilant
  2. ลูกเรือมีอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคพร้อมทั้ง physical และ mental
  3. ลูกเรือไม่ได้คิดถึงแค่ตัวเอง แต่มีผู้โดยสาร และคนที่บ้านด้วย สองข้อแรกที่ต้องทำมันเลยมีวินัยมากๆค่ะ!
  4. ลูกเรือไม่ได้คิดถึงแค่ตัวเอง แต่มีผู้โดยสาร และคนที่บ้านด้วย สองข้อแรกที่ต้องทำมันเลยมีวินัยมากๆค่ะ!

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.