หลังจากที่มีข่าวที่ทางกรมศิลปากร จะมีการแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน ภาพเขียนสีเขายะลา เพื่อนำหินไปใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งในโลกโซเซียลได้มีการคัดค้านเป็นอย่างมาก จนมีแฮชแท็ก #ถ้ำยะลา เกิดขึ้น ทาง Zcooby จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ครับ
ถ้ำยะลา คืออะไร?
ถ้ำยะลา หรือ พื้นที่โบราณสถานภาพเขียนสี เขายะลา ตั้งอยู่ใน ตำบลลิดล -ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีพื้นประมาณ 887 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2544 กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดิน พื้นที่โบราณสถานภาพเขียนสี เขายะลา โดยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 118 ตอนพิศษ 127 ง วันที่ 21 ธันวาคม 2544
ความสำคัญของถ้ำยะลานั้น เป็นแหล่งที่รวบรวมภาพเขียนสีในถ้ำ ซึ่งคาดว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี คาดว่าน่าจะเป็นภาพเขียนสีช่วงปลายศรีวิชัยคือช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20 ร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัย นอกจากการพบภาพเขียนสี ในถ้ำยังพบเครื่องมือหินและภาชนะดินเผาอายุ 2,000-4,000 ปีในบริเวณเดียวกันด้วย
และที่น่าสนใจกว่านั้น ในบริเวณถ้ำที่เขายะลายังพบรอยขีดสีที่มีรูปแบบเหมือนระบบการนับเลขในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจมีอายุกว่า 28,000 ปี
ความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของ ถ้ำยะลา
ที่มา : Facebook Artteller
อายุของภาพเขียนสีในถ้ำคาดคะเนอย่างต่ำคือพันปี ถ้าเทียบเคียงกับถ้ำศิลป์ที่อยู่ห่างไปไม่มาก คาดว่าน่าจะเป็นภาพเขียนสีช่วงปลายศรีวิชัยคือช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20 ร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัย คืออายุน่าจะประมาณ 1,000 ปี อย่างไรก็ตาม
จากการศึกษาได้บอกว่าภาพเขียนสีที่เขายะลาอาจมีอายุมากกว่าพันปี เพราะนอกจากการพบภาพเขียนสี ในถ้ำยังพบเครื่องมือหินและภาชนะดินเผาอายุ 2,000-4,000 ปีในบริเวณเดียวกันด้วย ที่น่าสนใจกว่านั้น ในบริเวณถ้ำที่เขายะลายังพบรอยขีดสีที่มีรูปแบบเหมือนระบบการนับเลขในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจมีอายุกว่า 28,000 ปี
การอนุรักษ์ภาพเขียนสีในถ้ำเป็นสิ่งที่ทั่วโลกทำ ถึงขนาดว่าบางถ้ำอาจต้องปิดเพื่อรักษาสภาพเพราะอากาศและแสงจะทำให้ภาพเขียนสีเสื่อมสภาพ(เช่น ถ้ำชื่อดังอย่าง Lascaux ที่ฝรั่งเศส หรือ Altamira ที่สเปน) แต่มันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเสมอ ทุกที่จึงพร้อมทำทุกอย่างเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของภาพบนผนังถ้ำไว้ ไม่มีที่ไหน ที่จะยอมให้ถ้ำที่มีภาพเขียนสีอายุพันปีถูกทำลาย ไม่มีที่ไหนเอาพื้นที่อนุรักษ์มาให้กลุ่มทุนทำอุตสาหกรรม
มันไม่ใช่แค่รอยสีบนผนังถ้ำ มันคือหน้าประวัติศาสตร์ มันคือร่องรอยช่วงเวลาของมนุษย์ และเมื่อภาพเขียนสีถูกทำลาย ไม่มีอะไรสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ไม่มีอะไรย้อนกลับได้ ไม่มีอะไรหลงเหลือ มันจะกลายเป็นแค่หิน ช่วงเวลาพันปีบนผนังถ้ำกลายเป็นศูนย์
ประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นในตอนนี้เกี่ยวกับ #ถ้ำยะลา
จุดเริ่มต้นมาจากราชกิจจานุเบกษาเรื่อง ” ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน ” โดยราชกิจจานุเบกษามีเนื้อหาดังนี้
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน
ตามที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสี
เขายะลา ตำบลลิดล -ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๘๘๗ ไร่ ๓ งาน ๘๐ ตารางวา เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๑๘ ตอนพิศษ ๑๒๗ ง วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๔
เนื่องจากขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียงได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับแหล่งหิน
อุตสาหกรรม จากสาเหตุที่แหล่งหินอุตสาหกรรมหลายแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง จึงทำให้จำเป็นต้องอาศัยแหล่งหินอุตสาหกรรมจากภูเขายะลาซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานภาพเขียนสี เขายะลา ดังนั้น เพื่อเป็นการผ่อนคลายสภาวะขาดแคลนหินอุตสาหกรมเพื่อใช้ในการก่อสร้าง ลดการก่อความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มคนผู้ก่อความไม่สงบในพื้นภาคใต้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณทสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ อธิบดีกรมศิลปากรจึงประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน ภาพเขียนสีเขายะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ให้มีพื้นที่ประมาณ ๖๙๗ ไร่ ๗๕ ตารางวา รายละเอียดดังปรากฎตามแผนผังแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พศ. ๒๕’๖๒
อนันต์ ชูโชติ
อธิบดีกรมศิลปากร
Be the first to comment