“ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง” คืออะไร? ที่มาของประโยคนี้ #อิเหนาเมาหมัด

เชื่อว่า หลายคนอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง” แต่หลายท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ประโยคนี้ หมายความว่าอย่างไร และมีที่มาอย่างไร?

“ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง” คืออะไร?

ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง เป็นสำนวนไทย ที่มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้อธิบายสำนวนนี้ว่า

“ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำเรื่องนั้นเสียเอง”


ที่มาขอสำนวน “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง”

“ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง” มาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา โดยเกิดจากจุดที่อิเหนา (พระเอก โอรสท้าวกุเรปัน) เคยต่อว่า จรกา กับ วิหยาสะกำ (โอรสท้าวผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง) ว่าไปหลงรักนางบุษบา จนต้องมาทำสงครามกันได้อย่างไร? โดยตอนหนึ่งใน “ศึกกะหมังกุหนิง” ได้เขียนไว้ดังนี้

ครั้นอ่านสารเสร็จสิ้นพระทรงฤทธิ์    ถอนฤาทัยให้คิดสงสัย
บุษบาจะงามสักเพียงไร     จึงต้องใจระตูทุกบุรี
หลงรักรูปนางอยู่อย่างนั้น  จะพากันมอดม้วยไม่พอที่
แม้งามเหมือนจินตะหราวาตี  ถึงจะเสียชีวีก็ควรนัก
แล้วตรัสกับดะหมังเสนา   เราจะยกโยธาไปโหมหัก
มิให้เสียวงศาสุรารักษ์  งดสักเจ็ดวันจะยกไป

แต่เมื่ออิเหนาได้พบนางบุษบา ตัวเองกลับหลงรักจนต้องทำอุบายเผาเมืองดาหา เพื่อชิงตัวนางบุษบาซะเอง

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.