6 สารอันตราย ที่มักผสมในยาลดความอ้วน,อาหารเสริมลดน้ำหนัก

ในปัจจุบัน เราจะพบเห็นอาหารเสริมเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความอ้วน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมากมายหลากหลายยี่ห้อ วันนี้ Zcooby ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ 6 สารอันตราย ที่ผู้ผลิตมักผสมลงในยาลดความอ้วน หรืออาหารเสริมลดน้ำหนัก

6 สารอันตราย ที่มักผสมในยาลดความอ้วน,อาหารเสริมลดน้ำหนัก

1 ไซบูทรามีน (Sibutramine)

สารยอดนิยมที่ผู้ผลิตส่วนมากแอบลักลอบใส่เข้าไปในยาลดความอ้วน เนื่องจากฤทธิ์ของสารนี้จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนบางตัวในร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันที่สะสมตามร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายผอมลงได้อย่างรวดเร็ว

การออกฤทธิ์ของยาตัวนี้ จะทำการยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า Serotonin, Norepinephrine และ Dopamine ส่งผลให้เกิดการปรับสมดุลของสารสื่อประสาทต่างๆเหล่านี้กันใหม่และทำให้ผู้บริโภคยานี้รู้สึกอิ่มไม่อยากรับประทานอาหาร

ผลข้างเคียงเบื้องต้น หากรับประทานไปนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อฝ่อจนส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจจะรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงเช่น ทำให้ระบบการทำงานของหัวใจผิดปกติ มีความดันโลหิตสูง แรงดันโลหิตในปอดเพิ่มมากขึ้น เจ็บหน้าอก ตาพร่า หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก หัวใจล้มเหลว ไตวาย จนถึงขั้นเสียชีวิต


2 เฟนเทอร์มีน (Phentermine)

เป็นสารอีกตัวหนึ่งที่มักจะมีในยาลดความอ้วน เนื่องจากสารนี้มีหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร จะช่วยให้ไม่รู้สึกหิว โดยสารนี้มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และถูกจัดให้เป็นวัตถุต่อจิตประสาทที่อาจก่อให้เกิดอาการติดยาได้

ผลข้างเคียงของสารชนิดนี้ อาจจะทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย และหากรับประทานมากจนเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดภาพหลอนได้


3 ยาขับปัสสาวะ

สารตัวนี้จะทำหน้าที่ขับน้ำในร่างกายให้ลดลงตามชื่อ โดยการขับน้ำออกจากร่างกายผ่านทางการปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ในช่วงแรกผู้ทานมีน้ำหนักที่ลดลง เนื่องจากน้ำในร่างกายถูกขับออกไป แต่มิใช่เพียงการขับน้ำออกจากร่างกายเท่านั้น แต่ยังขับเอาแร่ธาตุที่จำเป็นออกจากร่างกายไปอีกด้วย

ผลข้างเคียงหากถูกขับน้ำและแร่ธาตุออกไป ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสภาวะการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติจนอาจทำให้หัวใจวายได้


4 ไทร็อกซีน (Thyroxine)

เดิมสารนี้เป็นสารที่ใช้กับผู้ป่วยโรคไทรอย์ฮอร์โมนต่ำ เพื่อช่วยในปรับระดับเผาผลาญพลังงาน สังเคราะห์และทำลายในระดับเซลล์ ผู้ผลิตบางรายจึงนำเอาจุดเด่นนี้มาใช้ในยาลดความอ้วน

ข้างเคียงคืออาจมีอาการปวดศรีษะ หงุดหงิด น้ำหนักตัวลด เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ และส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญ ถึงแม้น้ำ
หนักจะลด แต่ไขมันยังคงอยู่


5 ออริสแตท (Orlistat)

สารตัวนี้มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ยาดักไขมัน โดยการทำหน้าที่คือ จะช่วยดักไขมันของไขมันที่ทานไปได้ (เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น)

ในส่วนผลข้างเคียงแม้ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย และปัจจุบันพบว่า สารตัวนี้มักถูกลักลอบนำมาผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก ซึ่งทาง อย. ยังไม่ได้มีการอนุญาตอย่างเป็นทางการเพราะยังมีผลข้างเคียงที่ต้องผ่านการดูแลจากแพทย์โดยเฉพาะ


6 ยาบิซาโคดิล (Bisacodyl)

สารตัวนี้มีฤทธิ์เป็นยาระบายหรือยาแก้ท้องผูกที่จำหน่ายกันแพร่หลาย มีรูปแบบการใช้ที่ง่ายและสะดวก เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ซึ่งยาบิซาโคดิลจะกระตุ้นให้ผนังลำไส้ใหญ่บีบตัวทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวจนทำให้เกิดการขับถ่ายในที่สุด

ทางผู้ผลิตจึงนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก เพื่อให้ผู้ทานเชื่อว่า การถ่ายท้องดีจะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.