เส้นเลือดในสมองตีบ เกิดจากอะไร? ลักษณะอาการ พร้อมวิธีการป้องกันและรักษา

หลังจากที่มีข่าวของ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เกิดการอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกกังวลว่า ตนเองอาจมีความเสี่ยงการเกิดโรคนี้หรือไม่? วันนี้ Zcooby ขอแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

เส้นเลือดในสมองตีบคืออะไร?

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ คืออาการที่มีเลือดไปเลี้ยงผ่านเส้นเลือดใหญ่ที่ไปสู่สมองที่มีการตีบแคบน้อย หรือกรณีลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดบริเวณอื่นของร่างกาย (เช่นหัวใจ) มีการหลุดออกและไหลตามกระแสเลือดจนมาเกิดการอุดตันเส้นเลือดในสมอง รวมทั้งอาจเกิดมีการสร้างสะสมขึ้นภายในผนังหลอดเลือดทำให้มีเลือดไหลเวียนในเส้นเลือดน้อยหรือทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดในสมองตีบ

  • ประวัติครอบครัว ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบ จะทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น
  • อายุ หากมากกว่า 55 ปีจะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • เพศ เพศชายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงกว่าเล็กน้อย แต่พบว่ามากกว่าครึ่งของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้เป็นผู้หญิง
  • เชื้อชาติ กลุ่มแอฟริกัน อเมริกันมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองตีบมากกว่า
  • ประวัติ หากเคยเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบขึ้นแล้ว 1 ครั้ง หรือมากกว่าจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำเพิ่มขึ้น 10 เท่า
  • ความดันโลหิตสูง การที่ความดันโลหิตสูงโดยไม่สามารถควบคุมได้ จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากขึ้น
  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง การรับประทานอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลหรือไขมันทรานส์มากจะทำให้เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือดแดง
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหัวใจวาย หัวใจผิดปกติ การติดเชื้อที่หัวใจ หรือการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ จะเพิ่มความเสี่ยง
  • โรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid artery disease) การเกิดโรคที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน
  • โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral artery disease – PAD) คือการที่เส้นเลือดซึ่งไปเลี้ยงแขนและขาเกิดการอุดตัน
  • เบาหวาน เบาหวานจะทำให้เส้นเลือดตีบรุนแรงมากขึ้น
  • น้ำหนักเกิน การที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 หรือรอบเอวมากกว่า 35 นิ้วในผู้หญิง หรือมากกว่า 40 นิ้วในผู้ชายจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  • สูบบุหรี่ สูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ความดันโลหิตสูง และทำให้มี cholesterol สะสมที่ผนังหลอดเลือดแดงมากขึ้น
  • การใช้ชีวิตแบบอยู่กับที่ ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะลดลงหากมีการออกกำลังกายระดับปานกลางวันละ 30 นาที
  • ภาวะทุพโภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีไขมัน และเกลือมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยง
  • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินว่าละ 2 แก้วและผู้หญิงไม่ควรเกินวันละ 1 แก้วเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  • การใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงการใช้โคเคน และยาเสพติดผิดกฎหมายอื่นๆ
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด การรับประทานยาที่มีฮอร์โมนเหล่านี้จะมีผลต่อความเสี่ยง

อาการของผู้เป็นเส้นเลือดในสมองตีบ

  • ร่างกายอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และมีอาการเหน็บชาร่วมด้วย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด หรือการเข้าใจคำพูดผิดเพี้ยน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว และมีอาการบ้านหมุน
  • สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการมึนงงอย่างรุนแรง

วิธีการรักษาอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

หมายเหตุ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ทำการรักษา

  • การให้ยาละลายลิ่มเลือด
  • การให้ยาต้านเกล็ดเลือด
  • การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • การให้ยาลดความดันโลหิต
  • การให้ยาลดไขมันในเลือด
  • การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid endarterectomy)
  • การผ่าตัดเพื่อกำจัดลิ่มเลือด (Thrombectomy)
  • การผ่าตัดหยุดเลือด (Surgical Clipping)
  • การใส่ขดลวด (Endovascular Embolization)
  • การผ่าตัดกำจัดเส้นเลือดที่มีปัญหา (Surgical AVM Removal)
  • การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดสมอง (Intracranial Bypass)
  • การผ่าตัดด้วยรังสี (Stereotactic Radiosurgery)

วิธีการป้องกันการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  • ควบคุมน้ำหนัก 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • งดสูบบุหรี่
  • ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ กหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็สามารถดื่มได้ แต่ควรดื่มในปริมาณที่แนะนำ คือ ผู้ชายไม่ควรเกินวันละ 2 แก้ว และผู้หญิงไม่ควรเกินวันละ 1 แก้ว
  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยทุก 6-12 เดือน
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต
  • รักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว
  • พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ควรพบแพทย์และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.