ชื่อของ “ต้นอังกาบหนู” ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงนี้ หลังจากที่มีข่าวว่า ชาวสุโขทัยเชื่อ “ต้นอังกาบหนู” รักษามะเร็ง วอนรัฐวิจัยด่วน วันนี้ Zcooby ขอแนะนำคุณประโยชน์ของต้นอังกาบหนู เผื่อหลายคนที่อาจจะยังไม่รู้จักว่ามันคือต้นอะไรครับ
ต้นอังกาบหนู คืออะไร?
อังกาบหนู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Barleria prionitis L. จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 1 – 1.5 เมตร ลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวรอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกดอกสีเหลืองตามซอกใบ (บางครั้งจะเรียกว่า อังกาบดอกสีเหลือง) มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ
ต้นอังกาบหนู มีชื่ออื่นๆ เช่น อังกาบดอกสีเหลือง, เขี้ยวเนื้อ, เขี้ยวแก้ง (ภาคกลาง), อังกาบ (นครศรีธรรมราช) มันไก่ (ภาคเหนือ)
สรรพคุณของต้นอังกาบหนู
ในแต่ละส่วนของต้นอังกาบหนู สามารถนำมาใช้ในการบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ดังนี้
ดอก
- นำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก
ใบ
- ใช้เป็นยาลดไข้
- ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน
- ใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้
- ใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้
- ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก
- ใช้แก้พิษงู
- ช่วยรักษาโรคคัน
- ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน
- แก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม
- ใช้ทาแก้อาการปวดหลัง
- แก้ปวดบวม
ราก
- ใช้เป็นยาลดไข้
- ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม
- ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย
- ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน
- ใช้เป็นยาแก้ฝี
- เคยมีคนใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง
- สารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด
- โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง
ทั้งต้น
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบ
Be the first to comment