ในช่วงนี้หลายคนอาจจะได้ข่าวเรื่องค่าฝุ่นละอองและมลพิษในกรุงเทพมีค่าที่สูงเกินปกติ วันนี้ Zcooby ขอนำเสนอวิธีการเช็คค่าฝุ่นละออง,มลพิษแบบเรียลไทม์ พร้อมรู้จัก ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) กันครับ
ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) คืออะไร?
ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) หรือเรียกย่อๆ ว่า AQI การรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่
ซึ่งดัชนีคุณภาพอากาศแบบ AQI นี้เป็นรูปแบบสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทย เป็นต้น
วิธีการคำนวณ ใช้วิธีการเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ได้แก่
- ก๊าซโอโซน (O3) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
- ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง
- ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ของสารมลพิษทางอากาศประเภทใดมีค่าสูงสุด จะใช้เป็นดัชนีคุณภาพอากาศของวันนั้น
คุณภาพอากาศแบบ AQI มีการแบ่งระดับเป็นตัวเลขดังนี้ (ตัวเลขยิ่งสูง ยิ่งอันตราย)
AQI | ความหมาย | สีที่ใช้ | แนวทางการป้องกันผลกระทบ |
0-50 | คุณภาพดี | ฟ้า | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ |
51-100 | คุณภาพปานกลาง | เขียว | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ |
101-200 | มีผลกระทบต่อสุขภาพ | เหลือง | ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานาน |
201-300 | มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก | ส้ม | ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ควรจำกัดการออกกำลังภายนอกอาคาร |
มากกว่า 300 | อันตราย | แดง | บุคคลทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรอยู่ภายในอาคาร |
เช็คค่าฝุ่นละออง,มลพิษแบบเรียลไทม์
คุณสามารถเช็คดัชนีคุณภาพของอากาศในกรุงเทพแบบเรียลไทม์ได้ดังนี้
http://aqicn.org/city/bangkok/
อย่างไรก็ดี อย่าลืมเตรียมตัวป้องกันร่างกายของเรา หากพบว่า ค่าดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงนะครับ
Be the first to comment