สัญญาณไฟจราจรอันแรกของโลก

หากพูดถึงไฟเขียวไฟแดง หรือสัญญาณไฟจราจร อาจจะเป็นสิ่งที่คุณเห็นอยู่ทุกวันบนท้องถนน แต่คุณรู้หรือไม่ครับว่า สัญญาณไฟจราจร มีประวัติที่ยาวนานนับร้อยปี โดยมันถูกติดตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1914 หรือเมื่อ 101 ปีที่แล้วครับ วันนี้ทาง Zcooby จะพาคุณไปรู้จักให้มากยิ่งขึ้นครับ

662944-topic-ix-0

ไฟเขียวไฟแดงอันแรกของโลก

สัญญาณไฟจราจรอันแรกของโลกได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1912 โดย  Lester Wire ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองซอล์ทเลค รัฐยูท่าห์ โดยเริ่มใช้งานจริงในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1914 โดยทางบริษัท American Traffic Signal ได้ทำการติดตั้งระบบสัญญาณไฟจราจรที่มุมหนึ่งด้านฝั่งตะวันออกของถนนสาย 105th และย่านถนนในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ไฟจราจรอันนี้มีเพียงแค่สองสีคือ สีเขียวและสีแดง

ส่วนสัญญาณไฟจราจรที่เป็น 3 สีนั้นคือ ไฟเขียว ไฟแดง ไฟเหลือง ทำมาจากวัสดุที่เป็นแก้ว โลหะ หรือปุ่มสะท้อนแสงเพื่อให้การมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ในช่วงแรกๆสัญญาณไฟจราจรมีการควบคุมโดยใช้คน ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1920 โดย วิลเลียม พอตต์ ตำรวจจราจรเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน

ทำไมไฟจราจรถึงต้องเป็น สีแดง สีเหลือง และ สีเขียว ???

 

สำหรับเรื่องสีนั้น ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 อุตสาหกรรมต่างๆ จะใช้สีแดงเป็นความหมายให้หยุด และสีเขียวหมายถึงไปได้ เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ผู้ประดิษฐ์สัญญาณไฟทั้งสำหรับรถไฟและสำหรับท้องถนนจึงนำสีที่เป็นที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วมาใช้

เหตุที่สีเหล่านี้ถูกใช้ในอุตสาหกรรมนั้นก็เพราะทั้งสองสีทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน โดยปกติแล้ว

  • สีแดง เป็นสัญลักษณ์ของอันตรายหรือการเตือนทำให้คนที่เห็นจะต้องหยุด
  • สีเขียว นั้นเป็นสีที่ดูสงบซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นสีของธรรมชาติ และสีเขียวยังเป็นสัญลักษณ์ของสุขภาพและความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นดูแล้วมันอาจหมายถึงว่าให้ไปได้
  • สีเหลือง หรือเหลืองอำพันนั้น เกี่ยวข้องกับความอบอุ่น ความสุข และแสงอาทิตย์ ก็ยังน่าสงสัยอยู่ว่าทำไมถึงใช้สีนี้ในไฟจราจร แต่จากคำอธิบายบางทฤษฎีเชื่อว่า เป็นเพราะสีเหลืองนั้นดูตัดกับกับสีเขียวและสีแดง และยังมองเห็นได้ดีแม้ว่าสายตาคนขับรถจะแย่แค่ไหนก็ตาม และปัจจุบันมักจะใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการเตือนทั้งในสัญลักษณ์จราจรและระบบเตือนภัย

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.